วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ประติมากรรมสมัยอู่ทอง



ประติมากรรมสมัยอู่ทอง
สันนิษฐานกันว่าเมืองอู่ทองเป็นเมืองหนึ่งของอาณาจักรทวารวดี ดังนั้นประติมากรรมของอู่ทองยุคแรกจึงเป็นประติมากรรมแบบทวารวดี ครั้งถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 17 ศิลปะอู่ทองได้รับอิทธิพลมาจากเขมร จึงเกิดการผสมผสานกันระหว่างศิลปะทวารวดีและศิลปะเขมร ดังที่ศาสตราจารย์ ยอจซ์ เซเดล์ กล่าวได้ว่า “พระพุทธรูปอู่ทอง 32 เริ่มแต่ก่อนที่พระเจ้าอยู่ทองทรงสร้างกรุงศรีอยุธยาขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1893 ทำตามลพบุรี ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นตามแบบฝีมือช่างขอมผสมกับแบบทวารวดี มีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 17-2” นอกจากนี้ศาสตราจารย์ศิลป คงจะหมายถึงชาวไทยที่อยู่ใต้ลงมาจากสุโขทัย ซึ่งสร้างขึ้นจกการผสมผสานกันระหว่างประติมากรรมทวารวดีศรีวิชัยและเขมร จนเกิดเป็นรูปแบบของศิลปะผสมขึ้น
ประติมากรรมอู่ทองยุคแรกเป็นสำริด หินทรายสีเทา และหินทรายสีแดง ซึ่งมีทั้งพระพุทธรูป รูปคน รูปสัตว์ และลวดลายตกแต่งประดับสถูปเจดีย์
พระพุทธรูปอู่ทองมักเป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิราบปางมารวิชัยหุ้มทอง เม็ดพระศกเล็กคล้ายหนามขนุนมีไรพระศก พระพักตร์ และทรวดทรงคล้ายมนุษย์ พระพุทธรูปอู่ทองให้ความรู้สึกที่เป็นสมาธิค่อนข้างแข็งกล้าเป็นความรู้สึกของมนุษย์ธรรมดา มากกว่าแสดงถึงความปลดพ้นของผู้บรรลุธรรม
ประติมากรรมอู่ทองประมาณว่ามีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 – 19

ไม่มีความคิดเห็น: