วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ประติมากรรมร่วมสมัย

ประติมากรรมร่วมสมัย
ประติมากรรมร่วมสมัยเริ่มขึ้นเมื่อประมาณปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นยุคที่บ้านเมือง ได้พัฒนาตามแบบอารยประเทศตะวันตกอย่างมากแล้ว รวมถึงศิลปวัฒนธรรมสมัยนั้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนหรืองานด้านจิตกรรมก็ตามได้โน้มเอียงไปทางตะวันตกอย่างมาก
การศึกษาด้านศิลปะและการช่างรัชกาลที่ 6 ได้โปรดให้ตั้งโรงเรียนเพาะช่างขึ้นเพื่อให้การศึกษาด้านศิลปะตะวันตกและศิลปะไทยแก่เยาวชนไทย ซึ่งเท่ากับเป็นการอนุรักษ์และสืบต่อศิลปะและการช่างไทยไว้นอกจากนี้ยังได้จ้างช่างและศิลปินชาวต่างประเทศเข้ามาทำงานศิลปะต่าง ๆ เข้ามาทำงานให้กับทางราชการช่างคนสำคัญที่น่ากล่าวถึงคนหนึ่งคือ นายคอราโด เฟโรจี ซึ่งต่อมาได้โอนสัญชาติเป็นไทย คือ ศาสตราจารย์ศิลปพีระศรี เป็นผู้ทำงานประติมากรรมและออกแบบเหรียญต่าง ๆ ปั้นพระบรมราชอนุสาวรีย์ของพระมหากษัตริย์ไทย และอนุสาวรีย์ไว้หลายแห่ง เช่น อนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ( ปฐมบรมราชานุสรณ์ ฯ ) อนุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราช อนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้น


นอกจากนี้ศาสตราจารย์ ศิลปะ พีระศรี ยังเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากรขึ้นเพื่อให้การศึกษาศิลปะตามแบบอย่างศิลปะสมัยใหม่ และศิลปะร่วมสมัย นับเป็นมหาวิทยาลัยศิลปะแห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งทำให้เกิดจิตกร และประติมากรรมร่วมสมัยขึ้นเป็นจำนวนมาก
โดยเฉพาะประติมากรรมที่ได้รับการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากร และศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี ซึ่งถือเป็นประติมากรร่วมสมัยยุคแรก ๆ ที่ควรกล่าวถึงนั้นมีหลายท่าน อาทิ นายสนั่น สิลากร นายไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ นายเขียน ยิ้มศิร นายพิมาน มูลประมุข เป็นต้น ประติมากรเหล่านี้ได้ทำงานประติมากรรมไว้เป็นจำนวนมาก รูปเหมือนเหรียญต่าง ๆ รูปสัตว์ ตลอดจนถึงงานประติมากรรมร่วมสมัย ซึ่งเป็นที่นิยมกันอยู่ในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตามประติมากรรมร่วมสมัยของไทยในปัจจุบันมีจำนวนมิใช่น้อยทั้งที่มีความสามารถในการปั้นอนุสาวรีย์ รูปเหมือน และเหรียญต่าง ๆ ตลอดจนถึงประติมากรรมร่วมสมัย นับว่าประติมากรรมไทยได้พัฒนามาเป็นลำดับ และก้าวหน้าไปทัดเทียมกับนานาอารยะประเทศ

ไม่มีความคิดเห็น: