วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ประติมากรรมสมัยเชียงแสง

ประติมากรรมสมัยเชียงแสง
ประติมากรรมเชียงแสนหรือล้านนาไทย สันนิษฐานกันว่าประติมากรรมที่สร้างขึ้นโดยได้รับอิทธิพลของศิลปะอื่นสองทางคือ ทางหนึ่งรับเอาอิทธิพลของศิลปะอินเดียแบบปาลามาจากอินเดีย ซึ่งอาจจะเข้ามาทางพุกาม ประเทศพม่า และอีกทางหนึ่งรับเอาอิทธิพลศิลปะที่มาจากทางใต้ เช่น ศิลปะทวารวดี ลพบุรี และสุโขทัย โดยเฉพาะศิลปะสุโขทัย ให้อิทธิพลแก่ศิลปะเชียงแสน หรือล้านนาไทยอย่างมาก เพราะเหตุว่าอาณาจักรเชียงแสนหรือล้านนาไทยเจริญขึ้น ในยุคใกล้เคียงกันกับที่อาณาจักรสุโขทัยกำลังเจริญรุ่งเรืองและยังมีการติดต่อกันฉันท์มิตร จึงทำให้แบบอย่างและอิทธิพลทางศิลปะถ่ายทอดถึงกันและกัน ซึ่งจะสังเกตได้จากรูปแบบของพระพุทธรูป คือ นั่งขัดสมาธิราบเม็ดพระศกเล็ก พระเศียรมีเปลวรัศมี และชายสังคาฎิห้อยลงมาถึงพระนาภี อย่างไรก็ตามในตอนปลายพุทธศตวรรษที่ 20 ประติมากรรมเชียงแสนและล้านนาไทยก็เริ่มเสื่อมลงเพราะตกอยู่ในอิทธิพลทางพม่าจึงรับเอาแบบอย่างประติมากรรมจากพม่า ทำให้รูปแบบเฉพาะของประติมากรรมเชียงแสนสูญหายไป

ไม่มีความคิดเห็น: