วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ประติมากรรมสมัยอยุธยา

ประติมากรรมสมัยอยุธยา
ประติมากรรมที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยานั้นแบ่งออกไปเป็น 3 ยุค คือ
ยุคแรก เริ่มตั้งแต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ( พระเจ้าอู่ทอง ) ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีตั้งแต่ พ.ศ. 1893 จนถึงสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ( เจ้าสามพระยา ) พ.ศ. 1991 ในยุคนี้ประติมากรรมยังนิยมทำตามแบบฝีมือช่างอู่ทองอยู่ ดังจะเห็นได้จากพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่วัดพนัญเชิง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งสร้างก่อนตั้งกรุงศรีอยุธยาถึง 26 ปี ในยุคแรก ๆ ของกรุงศรีอยุธยานี้ยังไม่มีพระพุทธรูปที่มีลักษณะเฉพาะตนส่วนมากจะมีลักษณะผสมเป็นแบบศิลปะอู่ทอง ลพบุรี และสุโขทัย ปะปนกันไป
ประติกรรมยุคที่สองเริ่มจากสมัยพระบรมไตรโลกนาถไปจนถึงสมัยพระเจ้าปราสาททอง พ.ศ. 2173 พระพุทธรูปในยุคนี้นิยมทำวงพระพักตร์ พระรัศมีตามแบบอย่างศิลปะสุโขทัย และนิยมทำปางมารวิชัย ปางป่าเลไลยก์ ปางประทานอภัย ไม่นิยมสร้างปางลีลา และปางสมาธิ

ประติมากรรมอยุธยายุคที่ 3 เริ่มตั้งแต่แผ่นดิน พระเจ้าปราสาททอง พ.ศ. 2173 มาจนถึงเสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2310 รวมเวลา 157 ปี โดยอาศัยช่วงเวลาที่ยาวนานของกรุงศรีอยุธยา โดยเฉพาะในช่วงหลังจากกรุงศรีอยุธยาได้เจริญสัมพันธไมตรี มีการติดต่อค้าขายกับชาวกัมพูชาและต่างชาติมากขึ้น ทั้งชาวยุโรปและชาวจีนดังนั้น ช่างและศิลปินแขนงต่าง ๆ จึงรับเอาอิทธิพลทางศิลปะและวิทยาการมาจากต่างชาติเหล่านั้น
งานศิลปะกรรมในยุคนี้เน้นหนักไปทางด้นสถาปัตยกรรมและจิตรกรรมมากกว่าด้านประติมากรรมทำให้การสร้างพรพุทธรูปไม้ก้าวหน้าไปกว่าเดิม แต่ในยุคนี้มีพระพุทธรูปที่มีลักษณะเฉพาะของยุคที่นิยมสร้างกันมากคือ พระพุทธรูปทรงเครื่องแบบราชาธิราช ซึ่งมีทั้งแบบทรงเครื่องใหญ่ และทรงเครื่องน้อย นิยมสร้างปางประทานอภัย
อย่างไรก็ตาม ประติมากรรมสมัยอยุธยานั้น แม้จะไม่ให้ความรู้สึกที่สมบูรณ์ด้านความงามหรืออุดมคติมากนักแต่พระพุทธรูปสมัยอยุธยาโดยเฉพาะพุทธรูปทรงเครื่องต่าง ๆ ถือเป็นลักษณะพิเศษของประติมากรรมเป็นพระพุทธรูปของสมัยอยุธยาที่บ่งบอกถึงความพยายามที่จะสร้างเอกลักษณ์ของตนเอง พระพุทธรูปเหล่านั้นได้แสดงให้เห็นถึงความมั่นคงของผู้คนยุคนั้นได้เป็นอย่างดี และส่วนมากเป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยสำริดมากกว่าอย่างอื่น
นอกจากงานประติมากรรมแล้ว งานด้านแกะสลักไม้ทั้งที่เป็นพระพุทธรูปและลวดลายตกแต่งก็มีมากในสมัยอยุธยา ซึ่งแสดงให้เห็นความสามารถชั้นสูงของช่างสมัยนั้น

ไม่มีความคิดเห็น: