วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ประติมากรรมสมัยลพบุรี

ประติมากรรมสมัยลพบุรี
ประติมากรรมสมัยลพบุรีอาจจะแบ่งได้เป็น 2 ยุค ยุคแรกเป็นศิลปะของเขมรและยุคหลังของศิลปะที่สร้างขึ้นเลียนแบบเขมรซึ่งอาจจะเป็นฝีมือชาวไทยประติมกรรมสมัยลพบุรีอายุประมาณศตวรรษที่ 12 – 18
ประติมากรรมสมัยลพบุรี ได้รับแบบอย่างมาจากอิทธิพลของศิลปะเขมรที่เข้ามาสู่ประเทศไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ประติมากรรมสมัยนี้ส่วนใหญ่เป็นศิลาและสำริด มีพวกตุ๊กตาดินเผาอยู่บ้างแต่ไม่พบมากนัก ประติมากรรมที่มีฝีมือทางศิลปะสูง ได้แก่ พวกประติมากรรมลอยตัว และประติมากรรมนูนสูง ซึ่งมีทั้งพระพุทธรูปศิลาจำหลัก และรูปสลักเป็นเรื่องราวของพุทธศาสนา และเทวรูปของศาสนาพราหมณ์ เช่น พระอิศวร พระนารายณ์ พระอุมา พระลักษมีและรูปบุรุษสตรี ฯลฯ ประติมากรรมตกแต่งสถาปัตยกรรม เช่น ปรางค์ ปราสาท เป็นต้น
ประติมากรรมสมัยลพบุรี ให้ความรู้สึกหนักแน่นด้วยเส้นและปริมาตรที่แน่นอนโดยเฉพาะพระพุทธรูปเทวรูป บุรุษหรือสตรี จะมีลักษณะผึ่งผาย บ่าใหญ่ เอวคอด ศีรษะค่อนข้างใหญ่ คางเหลี่ยม นุ่งผ้าโจงกระเบนมีชายพก ผมมักเก้าเป็นเส้นถึกแนวตั้ง
พระพุทธรูปลพบุรีนิยมทำเป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก พระพักตร์ค่อนข้างเป็นเหลี่ยม บางรูปมีเครา ( ทาฒิกะ ) สลักเป็นรูปปีกกา พระโอษฐ์หนาใหญ่ ลักษณะเหล่านี้มักพบว่ามีผสมอยู่ในพระพุทธรูปของไทยยุคต่อมา เช่น พระพุทธรูปอู่ทอง เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น: