วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

คำว่า ประติมากรรม

คำว่า ประติมากรรม
มีใช้กันอยู่ 2 คำ คือ ประฎิมา หรือ ปฎิมากรรม เป็นภาษาบาหลี ส่วนอีกคำหนึ่ง ประติมา หรือ ประติมากรรม เป็นคำในภาษาสันกฤต ทั้งสองคำมีความหมายเหมือนกัน คือ รูปที่สร้างขึ้นหรือรูปจำลอง คำทั้งสองนี้ปัจจุบันนิยมใช้คำว่า ประติมากรรม มากกว่า คำว่า ปฎิมากรรม เพราะคำว่า ปฎิมากรรมมักจะใช้กันเฉพาะพระพุทธรูปหรือรูปเคารพ เช่น พุทธรูปก็มักเรียกกันว่าพระพุทธปฏิมา หรือรูปเคารพเช่นเทวรูป ซึ่งบางครั้งเรียกกันว่ารูปปฏิมาปรือประติมากรรม เป็นต้น
ปฎิมากรรมตรงกับภาษาอังกฤษว่า sculpture เป็นคำที่ใช้กันกว้างขวาง ซึ่งหมายถึง ผลงานศิลปะที่เกิดจากการปั้นนั้น การแกะสลัก การหล่อ เป็นต้น สำหรับช่างผู้สร้างสรรค์ค์งานประติมากรรมเรียกว่า ประติมากรตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า sculptor
คำว่า ประติมากร นั้น มักใช้กับผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีความชำนาญในการสร้างงานประติมากรรมตลอดจนฝีมือและลักษณะของตนที่เหนือไปจากฝีมือ ซึ่งช่างมักจะเป็นผู้สร้างงานขึ้นตามแบบอย่างที่มีอยู่แล้วหรือทำขึ้นซ้ำๆ กันเป็นจำนวนมาก ตามแบบดั้งเดิมขาดความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง ซึ่งมักเรียกว่า ช่างฝีมือมากกว่าประติมากร หรือ ศิลปินผู้สร้างงานประติมากรรม
อย่างไรก็ตามประติมากรไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน ได้สร้างประติมากรรมประเภทต่างๆ ไว้ให้เราได้ชื่นชมและศึกษาค้นคว้าเป็นจำนวนมาก ประติมากรรมเหล่านั้นเป็นศิลปกรรมไทย ที่มีคุณค่าและมีเอกลักษณ์เฉพาะตน โดดเด่นแตกต่างกันไปจากประติมากรรมชาติอื่นๆ มีประวัติความเป็นมาและคติการสร้างที่น่าสนใจอย่างยิ่ง

ไม่มีความคิดเห็น: