วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

คณะผู้จัดทำรายงาน

เรื่องราว...ประติมากรรมไทย

ความเป็นมาของประติมากรรมไทย

ความเป็นมาของประติมากรรมไทย
การสร้างงานประติมากรรมของมนุษย์เรามาแต่โบราณกาล เช่น การนำกระดูกสัตว์มาแกะสลักเป็นเครื่องใช้ของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ หรือ การนำหินมาแกะสลักเป็นรูปเคารพ หรือปั้นดินเหนียวเป็นรูปข้าทาสบริวาร รูปช้างม้า แล้วเผาไฟจนกลายเป็นดินเผาไว้ในบริเวณหลุมศพของจักรพรรดิ ซึ่งเป็นคติอย่างหนึ่งของจีนในอดีต สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าประติมากรรม เกิดขึ้นจากความต้องการของมนุษย์ เพื่อใช้ประโยชน์จากประติมากรรม
ต่อมาเมื่อศาสนาเกิดขึ้นในโลก ความศรัทธาในศาสนาของมนุษย์ เป็นสาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งที่ก่อให้เกิดการสร้างรูปเคารพ รูปศาสดาของแต่ละศาสนาตลอดจนถึงรูปสัญลักษณ์ประจำศาสนา เช่น พระพุทธรูปต่างๆ เป็นต้น

ยุคของประติมากรรมไทย

ยุคของประติมากรรมไทย
ตามหลักฐานที่พบในประเทศไทยส่วนมากจะพบประติมากรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนามากกว่าประติมากรรมประเภทอื่น ๆ การแบ่งยุคสมัยของประติมากรรมจึงยึดรูปแบบของประติมากรรมพุทธศาสนา โดยเฉพาะพระพุทธรูปเป็นหลัก และอาศัยการแบ่งยุคสมัยของศิลปไทยที่ใช้พุทธศิลป์เป็นแนวทางเพราะเป็นศิลปะวัตถุที่มีให้ศึกษาค้นคว้าได้มาก ฉะนั้นการแบ่งยุคสมัยของประติมากรรมไทยต่อไปนี้จะแบ่งตามแนวทางที่ผู้รู้ได้จำแนกไว้ยุคสมัยของประติมากรรมไทยในลักษณะนี้คือ ประติมากรรมยุคก่อนไทยและประติมากรรมไทย

ประติมากรรมก่อนไทย

ประติมากรรมก่อนไทย
ประติมากรรมก่อนไทย คือ ประติมากรรมที่สร้างขึ้นก่อนศิลปเชียงแสน หรือก่อนพุทธศตวรรษที่ 15 นักประวัติศาสตร์ศิลป์และโบราณคดียังหาข้อยุติไม่ได้ว่าศิลปกรรมที่สร้างขึ้นในยุคต่าง ๆ ก่อนที่คนไทยจะรวมตัวกันเป็นปึกแผ่นแท้จริงเป็นอาณาจักรล้านนาหรือสุโขทัย ศิลปกรรมและประติมากรรมที่พบในยุคก่อนศิลปไทยนั้นไม่อาจหาข้อสรุปได้ว่าเป็นฝีมือของคนไทยที่อยู่ในดินแดนที่เป็นประเทศไทยนี้มาหลายพันปีแล้ว หรือเป็นฝีมือของชนชาติอื่น ๆ เช่น พวกละว้า มอญโบราณ ที่เข้ามาอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ ได้แก่ ดินแดนสุพรรณบุรี นครปฐม ราชบุรี และเพชรบุรี มาก่อนที่คนไทยจะเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้ อย่างไรก็ตาม การแบ่งยุคสมัยประติมากรรมต่าง ๆ ที่พบในประเทศไทย นักประวัติศาสตร์ศิลป์ก็ได้อาศัยรูปแบบของศิลปะที่พบ แล้วจัดเป็นยุคต่าง ๆ ดังนี้คือ

ประติมากรรมสมัยทวารวดี

ประติมากรรมสมัยทวารวดี
ประติมากรรมสมัยทวารวดีส่วนมากที่พบเป็นประติมากรรมที่สลักด้วยหินสีเขียวเป็นพระพุทธรูป ลักษณะยังเป็นแบบเริ่มแรกซึ่งเรียกกันว่าสมัยเอาเคอิค ยังมีอิทธิพลของศิลปะอมราวดีและคุปตะของอินเดียผสมอยู่ ประติมากรรมสมัยทวารวดีได้วิวัฒนาการขึ้น และมีอิทธิพลต่อพระพุทธรูปสมัยอื่น ๆ ของไทยด้วย โดยเฉพาะพุทธรูปสมัยเชียงแสน และศิลปทางภาคเหนือของไทย นอกจากพระพุทธรูปสลักด้วยหินแล้วได้พบประติมากรรมอื่น ๆ เช่น ปูนปั้นและดินเผาส่วนมากเป็นประติมากรรมประดับสถาปัตยกรรม เช่น รูปปูนปั้นประดิษฐานสถูปเจดีย์ เป็นต้น นอกจากนี้ก็มีประติมากรรมดินเผาซึ่งพบมากในบริเวณจังหวัดนครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี ประติมากรรมสมัยทวารวดีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 16 ประติมากรรมสมัยนี้ได้ให้อิทธิพลแก่ประติมากรรมยุคใกล้เคียงอย่างมาก จะเห็นว่ารูปแบบของประติมากรรมสมัยทวารวดีมีอิทธิพลผสมผสานอยู่ในประติมากรรมอื่น ๆ ในสมัยต่าง ๆ ทั่วไป

ประติมากรรมสมัยศรีวิชัย

ประติมากรรมสมัยศรีวิชัย
ประติมากรรมสมัยศรีวิชัย ส่วนมากพบในบริเวณภาคใต้ ลักษณะประติมากรรมได้รับอิทธิพลและแบบอย่างมากศิลปสมัยศรีวิชัยของชวา ประติมากรรมสมัยนี้มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13 – 18 โดยได้รับอิทธิพลมาจากศิลปคุปตะและปาละของอินเดีย โดยผ่านเข้ามาจากชวา เข้ามาสู่ภาคใต้ของไทยจะมีศูนย์กลางอยู่บริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประติมากรรมสมัยศรีวิชัยมีอิทธิพลต่อลักษณะศิลปเชียงแสนและสุโขทัย ประติมากรรมของศรีวิชัยมีทั้งพระพุทธรูปและปูนปั้นประดับตกแต่งสถาปัตยกรรม เช่น ประดับประตู แต่งท่อระบายน้ำซึ่งเรียกว่า มกระ ( Masara ) เป็นรูปแบบที่แพร่หลายมาก และเข้มาปรากฏอยู่ในศิลปะไทยในสมัยต่อ ๆ มา

ประติมากรรมสมัยลพบุรี

ประติมากรรมสมัยลพบุรี
ประติมากรรมสมัยลพบุรีอาจจะแบ่งได้เป็น 2 ยุค ยุคแรกเป็นศิลปะของเขมรและยุคหลังของศิลปะที่สร้างขึ้นเลียนแบบเขมรซึ่งอาจจะเป็นฝีมือชาวไทยประติมกรรมสมัยลพบุรีอายุประมาณศตวรรษที่ 12 – 18
ประติมากรรมสมัยลพบุรี ได้รับแบบอย่างมาจากอิทธิพลของศิลปะเขมรที่เข้ามาสู่ประเทศไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ประติมากรรมสมัยนี้ส่วนใหญ่เป็นศิลาและสำริด มีพวกตุ๊กตาดินเผาอยู่บ้างแต่ไม่พบมากนัก ประติมากรรมที่มีฝีมือทางศิลปะสูง ได้แก่ พวกประติมากรรมลอยตัว และประติมากรรมนูนสูง ซึ่งมีทั้งพระพุทธรูปศิลาจำหลัก และรูปสลักเป็นเรื่องราวของพุทธศาสนา และเทวรูปของศาสนาพราหมณ์ เช่น พระอิศวร พระนารายณ์ พระอุมา พระลักษมีและรูปบุรุษสตรี ฯลฯ ประติมากรรมตกแต่งสถาปัตยกรรม เช่น ปรางค์ ปราสาท เป็นต้น
ประติมากรรมสมัยลพบุรี ให้ความรู้สึกหนักแน่นด้วยเส้นและปริมาตรที่แน่นอนโดยเฉพาะพระพุทธรูปเทวรูป บุรุษหรือสตรี จะมีลักษณะผึ่งผาย บ่าใหญ่ เอวคอด ศีรษะค่อนข้างใหญ่ คางเหลี่ยม นุ่งผ้าโจงกระเบนมีชายพก ผมมักเก้าเป็นเส้นถึกแนวตั้ง
พระพุทธรูปลพบุรีนิยมทำเป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก พระพักตร์ค่อนข้างเป็นเหลี่ยม บางรูปมีเครา ( ทาฒิกะ ) สลักเป็นรูปปีกกา พระโอษฐ์หนาใหญ่ ลักษณะเหล่านี้มักพบว่ามีผสมอยู่ในพระพุทธรูปของไทยยุคต่อมา เช่น พระพุทธรูปอู่ทอง เป็นต้น

ประติมากรรมสมัยเชียงแสง

ประติมากรรมสมัยเชียงแสง
ประติมากรรมเชียงแสนหรือล้านนาไทย สันนิษฐานกันว่าประติมากรรมที่สร้างขึ้นโดยได้รับอิทธิพลของศิลปะอื่นสองทางคือ ทางหนึ่งรับเอาอิทธิพลของศิลปะอินเดียแบบปาลามาจากอินเดีย ซึ่งอาจจะเข้ามาทางพุกาม ประเทศพม่า และอีกทางหนึ่งรับเอาอิทธิพลศิลปะที่มาจากทางใต้ เช่น ศิลปะทวารวดี ลพบุรี และสุโขทัย โดยเฉพาะศิลปะสุโขทัย ให้อิทธิพลแก่ศิลปะเชียงแสน หรือล้านนาไทยอย่างมาก เพราะเหตุว่าอาณาจักรเชียงแสนหรือล้านนาไทยเจริญขึ้น ในยุคใกล้เคียงกันกับที่อาณาจักรสุโขทัยกำลังเจริญรุ่งเรืองและยังมีการติดต่อกันฉันท์มิตร จึงทำให้แบบอย่างและอิทธิพลทางศิลปะถ่ายทอดถึงกันและกัน ซึ่งจะสังเกตได้จากรูปแบบของพระพุทธรูป คือ นั่งขัดสมาธิราบเม็ดพระศกเล็ก พระเศียรมีเปลวรัศมี และชายสังคาฎิห้อยลงมาถึงพระนาภี อย่างไรก็ตามในตอนปลายพุทธศตวรรษที่ 20 ประติมากรรมเชียงแสนและล้านนาไทยก็เริ่มเสื่อมลงเพราะตกอยู่ในอิทธิพลทางพม่าจึงรับเอาแบบอย่างประติมากรรมจากพม่า ทำให้รูปแบบเฉพาะของประติมากรรมเชียงแสนสูญหายไป

ประติมากรรมสมัยอู่ทอง



ประติมากรรมสมัยอู่ทอง
สันนิษฐานกันว่าเมืองอู่ทองเป็นเมืองหนึ่งของอาณาจักรทวารวดี ดังนั้นประติมากรรมของอู่ทองยุคแรกจึงเป็นประติมากรรมแบบทวารวดี ครั้งถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 17 ศิลปะอู่ทองได้รับอิทธิพลมาจากเขมร จึงเกิดการผสมผสานกันระหว่างศิลปะทวารวดีและศิลปะเขมร ดังที่ศาสตราจารย์ ยอจซ์ เซเดล์ กล่าวได้ว่า “พระพุทธรูปอู่ทอง 32 เริ่มแต่ก่อนที่พระเจ้าอยู่ทองทรงสร้างกรุงศรีอยุธยาขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1893 ทำตามลพบุรี ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นตามแบบฝีมือช่างขอมผสมกับแบบทวารวดี มีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 17-2” นอกจากนี้ศาสตราจารย์ศิลป คงจะหมายถึงชาวไทยที่อยู่ใต้ลงมาจากสุโขทัย ซึ่งสร้างขึ้นจกการผสมผสานกันระหว่างประติมากรรมทวารวดีศรีวิชัยและเขมร จนเกิดเป็นรูปแบบของศิลปะผสมขึ้น
ประติมากรรมอู่ทองยุคแรกเป็นสำริด หินทรายสีเทา และหินทรายสีแดง ซึ่งมีทั้งพระพุทธรูป รูปคน รูปสัตว์ และลวดลายตกแต่งประดับสถูปเจดีย์
พระพุทธรูปอู่ทองมักเป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิราบปางมารวิชัยหุ้มทอง เม็ดพระศกเล็กคล้ายหนามขนุนมีไรพระศก พระพักตร์ และทรวดทรงคล้ายมนุษย์ พระพุทธรูปอู่ทองให้ความรู้สึกที่เป็นสมาธิค่อนข้างแข็งกล้าเป็นความรู้สึกของมนุษย์ธรรมดา มากกว่าแสดงถึงความปลดพ้นของผู้บรรลุธรรม
ประติมากรรมอู่ทองประมาณว่ามีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 – 19

ประติมากรรมสมัยสุโขทัย




ประติมากรรมสมัยสุโขทัย


อาณาจักรสุโขทัย เริ่มประกาศตนเป็นอิสระพ้นจากอำนาจขอมราวพุทธศตวรรษที่ 18 โดยพ่อขุนศรีอิทราทิตย์ประกาศตั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ประติมากรรมของสุโขทัยนั้นถือว่าเป็นศิลปะไทยที่มีคุณค่าทางศิลปะและสุทรีย์ภาพสูง โดยเฉพาะพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ถือว่าเป็นความงามเป็นเลิศยิ่งกว่าพระพุทธรูปสมัยใด ๆ โดยเฉพาะพระพุทธรูปปางลีลา เป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะเฉพาะของสุโขทัย เป็นประติมากรรมที่งดงามไม่น้อยกว่าประติมากรรมชั้นเอกอื่น ๆ ของโลก
พระพุทธรูปที่นิยมสร้างในสมัยสุโขทัย คือ พระพุทธรูป 4 อิริยาบถ ได้แก่ นั่ง นอน ยืน เดิน และนิยมสร้างพระพุทธรูปลอยตัวด้วยสำริด พระพุทธรูปสำริดของสุโขทัยที่ปรากฏเป็นหลักฐานมาจนปัจจุบัน ได้แสดงให้เห็นความสามารถในการหล่อสำริดว่ามีความชำนาญและมีความสามารถอย่างยิ่ง
นอกเหนือจากพระพุทธรูปสำริดแล้ว ในสมัยสุโขทัยยังนิยมทำประติมากรรมปูนปั้นด้วย มีทั้งที่เป็นพระพุทธรูปประดับอาคารสถาปัตยกรรม เช่น พระพุทธรูปนูนสูงปางลีลาที่วัดตระพังทองหลาง เมืองสุโขทัยเก่า เป็นพระพุทธรูปนูนสูงปางลีลาสวนที่สุดแห่งหนึ่ง ส่วนประติมากรรมปูนปั้นที่ทำเป็นลายประดับตกแต่งมีอยู่ทั่วไป และถือว่ามีความงดงามมากแห่งหนึ่งคือลวดลายปูนปั้นประดับพระอุโบสถวัดนางพญา ศรีสัชนาลัยจังหวัดสุโขทัย สำหรับพระพุทธรูปสุโขทัยที่สลักด้วยศิลาก็ทำเหมือนกันแต่ไม่มาก
ประติมากรรมสมัยสุโขทัยที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาอีกประเภทหนึ่งคือพระพิมพ์ มีทั้งพระพิมพ์ดินเผาและพระพิมพ์โลหะ โดยเฉพาะพิมพ์ปางลีลา หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า พระกำแพงเขย่ง ( เขย่ง คือ ลีลา กำแพงคงจะมาจากชื่อเมืองกำแพงเพชร ) นับเป็นประติมากรรมขนาดเล็กที่สันนิษฐานกันว่าอาจจะเป็นต้นเค้าของพระพุทธรูปลอยตัวปาลลีลาของสุโขทัยก็ได้
นอกจากนี้ในสมัยสุโขทัยยังมีการทำประติมากรรมที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาที่น่ากล่าวถึง คือ การสร้างพระพุทธบาท ด้วยสิลาและสำริด และภาพลายแกะสลักเพดานหินในอุโมงค์มณฑปวัดศรีชุม นอกเมืองสุโขทัย และเพดานไม้แกะสลักปรางค์วัดพระศรีรัตมหาธาตุ ศรีสัชนาลัย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสามารถของการแกะสลักในสมัยสุโขทัยได้เป็นอย่างดี
ในสมัยสุโขทัยมีการสร้างเทวรูปสำริด เช่น รูปพระอิศวร พระอุมา พระนารายณ์ พระพรหม เป็นต้น เพราะในสมัยโบราณนั้น พระเจ้าแผ่นดินมักจะต้องอุปถัมภ์ศาสนาพราหมณ์ เพื่อประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องหล่อเทวรูปขึ้นสำหรับพิธีกรรม
สมัยสุโขทัยมีการทำเครื่องเคลือบดินเผาอย่างแพร่หลาย ที่เรียกว่า เครื่องสังคโลก จนถึงกับเป็นสินค้าออกไปขายยังประเทศใกล้เคียงได้ การทำเครื่องเคลือบดินเผานี้บางอย่างถือเป็นประติมากรรม เช่น การปั้นตุ๊กตาเด็กเล่น การปั้นเศียรนาค และเครื่องตกแต่งอาคาร โบสถ์ วิหาร เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นประติมากรรมที่มีกรรมวิธีในการสร้างแตกต่างไปจากการหล่อสำริด การสลักหินและการปั้นปูน ดังกล่าวแล้ว
อย่างไรก็ตามประติมากรรมสุโขทัยมีความก้าวหน้าทั้งในด้านรูปแบบทางศิลปะ และกรรมวิธีในการสร้างโดยเฉพาะพระพุทธรูปสำริดปางลีลา ซึ่งถือว่าเป็นประติมากรรมชั้นเยี่ยมของสุโขทัย หรือแม้พระพุทธรูปอื่น ๆ ก็ตาม ล้วนมีเอกลักษณ์ที่เด่นชัดแสดงให้เห็นความสามรถอันสูงของประติมากรในยุคสมัยนั้น
ประติมากรรมสุโขทัยมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 19 – 20 หรือประมาณ พ.ศ. 1780 – 1981


แบบอย่างของประติมากรรมสมัยสุโขทัยแบ่งเป็น 4 ยุค คือ

ยุคที่ 1 ประติมากรรมยุคนี้ยังแสดงอิทธิพลของศิลปะลพบุรีที่เห็นได้ชัด คือ ภาพปูนปั้นลวดลายประดับประตูรั้วทางเข้าองค์ปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ การสร้างพระพุทธรูปในยุคนี้มีแบบเฉพาะเป็นของตนเองที่เรียกกันว่า "แบบวัดตระกวน" เป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสน ลังกา และสุโขทัย ผสมผสานกัน พระพักตร์กลม พระรัศมีเป็นแบบลังกา พระวรกายและชายสังฆาฏิสั้นแบบเชียงแสน

ยุคที่ 2 ในยุคนี้ฝีมือการสร้างประติมากรรมของช่างไทยเชี่ยวชาญขึ้น พัฒนารูปแบบการสร้างพระพุทธรูปจนก่อเกิดรูปพุทธลักษณะอันงดงามของสกุลช่างสุโขทัยเอง ยังเป็นศิลปะสุโขทัยแบบบริสุทธิ์ ในยุคนี้มีการสร้างพระพุทธรูปไว้มากมายตั้งแต่พระพุทธรูปขนาดใหญ่ เช่น พระอัฏฐารส พระอัจนะ จนถึงพระบูชาขนาดเล็ก และพระพิมพ์ นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปนูนต่ำนูนสูงประดับภายในซุ้มมณฑปหรือพระเจดีย์เป็นจำนวนมาก สมดังศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวไว้ว่า "กลางเมืองสุโขทัยนี้มีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระอัฏฐารส มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันราม " พระพุทธรูปสุโขทัยไม่นิยมสลักหิน แม้จะเป็นพระพุทธรูปขนาดสลักหิน นิยมปั้นด้วยปูนหรือหล่อด้วยโลหะมีค่าต่างๆ รวมทั้งทองคำบริสุทธิ์ ลักษณะพระพุทธรูปสุโขทัยยุคนี้ คือ พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์อมยิ้มเล็กน้อย พระเศียรสมส่วนกับพระศอและพระอังสา หมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว พระอุระผายสง่า พระอังสาใหญ่กว้าง พระถันโปน ปั้นพระองค์เล็ก ครองจีวรห่มเฉียง ชายจีวรยาวจรดมาถึงพระนาภี ปลายเป็นลายเขี้ยวตะขาบ พระกรเรียวดุจงาช้าง นิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาททำแบบธรรามชาติ ดุจมีชีวิต ฐานเป็นหน้ากระดานเกลี้ยง ปางที่นิยมคือ ปางมารวิชัย และปางลีลา องค์พระพุทธรูปปางลีลาที่งดงามปัจจุบันประดิษฐานที่ระเบียงคด วัดเบญจมบพิตร

ยุคที่ 3 การปั้นพระพุทธรูปยุคนี้พัฒนาไปจากศิลปะสุโขทัยแบบบริสุทธิ์ มีความประณีต มีระเบียบและกฎเกณฑ์มากขึ้น พระรัศมีเป็นเปลวมีขนาดใหญ่ขึ้น พระพักตร์รูปไข่สั้น พระอุณาโลมเป็นตัวอุหงายระหว่างหัวพระขนง พระวรกายมีความอ่อนไหวน้อยลง พระอาการสงบเสงี่ยมแลดูนิ่งสงบขึ้น พระกรยาว นิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่เสมอกัน ฝ่าพระบาทเรียบสั้น พระบาทยาว พระพุทธรูปที่สำคัญๆ ในยุคนี้ คือ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา และพระศรีศากยมุนี เป็นต้น

ยุคที่ 4 เป็นยุคที่ประติมากรรมสมัยสุโขทัยถูกกลืนไปกับอิทธิพลของศิลปสมัยอยุธยาเมื่อราชวงศ์พระร่วงสิ้นสุดลงในพ.ศ. 1981 นับเป็นยุคสุโขทัยเสื่อม แม้มีการสร้างศิลปะในชั้นหลังก็เป็นสกุลศิลปะเล็กๆ พระพุทธรูปมีลักษณะกระด้างขึ้นทั้งอิริยาบท และทรวดทรง มักสร้างพระพุทธรูปยืน พระสำคัญในยุคนี้เช่น พระอัฎฐารส วัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงแบ่งแบบอย่างพระพุทธรูปซึ่งสร้างในสมัยสุโขทัยเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่หนึ่ง มักทำดวงพระพักตร์กลมตามแบบพระพุทธรูปลังกา เช่น พระอัฏฐารสในวิหารวัดสระเกศ กลุ่มที่สอง เมื่อฝีมือช่างเชี่ยวชาญขึ้นคิดแบบใหม่ ทำดวงพระพักตร์ยาว พระหนุเสี้ยม เช่นพระร่วงโรจนฤทธิ์ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเชิญไปไว้ที่พระปฐมเจดีย์ และพระสุรภีพุทธพิมพ์ที่เป็นพระประธานอยู่ในพระอุโบสถวัดปรินายก พระพุทธรูปที่สร้างแบบนี้มีมากกว่ากลุ่มแรก กลุ่มที่สามสันนิษฐานว่าเห็นจะเป็นในรัชกาลพระมหาธรรมราชาพญาลิไทย ซึ่งในตำนานกล่าวว่า ทรงเป็นพระราชธุระบำรุงกิจในพระศาสนายิ่งกว่าในรัชกาลก่อนๆ โปรดให้เสาะหาช่างที่มีฝีมือดีทั้งในอาณาเขตลานนาและอาณาเขตข้างฝ่ายใต้มาประชุมปรึกษากัน และทรงสอบสวนหาหลักฐานพุทธลักษณะในคัมภีร์พระไตรปิฎกประกอบ จึงเกิดแบบพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยขึ้นอีกอย่างหนึ่ง เช่น พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ ดวงพระพักตร์เป็นทำนองผลมะตูมคล้ายแบบอินเดียเดิมแต่งามยิ่งนัก และแก้พุทธลักษณะแห่งอื่น เช่น ทำปลายนิ้วพระหัตถ์ยาวเสมอกันทั้งสี่นิ้ว เป็นต้น แบบพระพุทธรูปเช่นนี้ทำกันแพร่หลายขึ้นไปจนถึงเมืองเหนือ และลงมาข้างใต้ แต่ที่ทำได้งามเหมือนองค์พระพุทธรูปที่เป็นต้นตำรามีน้อย
พระพุทธรูปปางต่างๆ ที่ทำในสมัยสุโขทัย ดูเหมือนจะไม่มีทำพระปางอย่างอินเดีย มีปางพุทธอิริยาบท คือ พระนั่ง พระนอน พระยืน พระเดิน พระนั่งทำปางมารวิชัยกับสมาธิ นั่งขัดสมาธิราบทั้งสองอย่าง พระนอนไม่ถือว่าเป็นปางนิพพานอย่างอินเดีย พระยืนมีแต่ปางประทานอภัย ยกพระหัตถ์ข้างเดียวบ้างสองข้างบ้าง สมมุติเรียกกันว่า ปางห้ามสมุทรและปางห้ามญาติ พระเดินไม่ถือว่าเป็นปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ ไม่ทำปางพระกรีดนิ้วพระหัตถ์แสดงเทศนา พระพุทธรูปแบบสุโขทัยทำชายจีวรยาว พระรัศมีเป็นเปลว พระแบบที่สร้างสอลกลุ่มแรกนิ้วพระหัตถ์ไม่เท่ากันทั้งสี่นิ้ว แบบบัวรองพระพุทธรูปเป็นอย่างสุโขทัยไม่เหมือนกับบัวเชียงแสน จากหลักฐานที่พบในเมืองสวรรคโลก สุโขทัย และกำแพงเพชร ชั้นเดิมสร้างเป็นพระก่อแล้วปั้นประกอบเป็นพื้น มาถึงชั้นกลางและชั้นหลังจึงชอบสร้างพระหล่อ ข้อนี้มีที่สังเกตตามวัดในเมืองศรีสัชนาลัย และเมืองสุโขทัย นอกจากนี้ที่เป็นวัดสำคัญ พระประธานที่เป็นพระปั้นยังอยู่โดยมาก แต่วัดสำคัญในเมืองพิษณุโลก สุโขทัย และกำแพงเพชร มักไม่มีพระประธานเหลืออยู่ ด้วยเป็นพระหล่อเชิญมาไว้ที่กรุงเทพ ฯ ในสมัยรัตนโกสินทร์โดยมาก เช่น พระศรีศากยมุนีที่พระวิหารวัดสุทัศน์ พระพุทธชินสีห์ที่วัดบวรนิเวศ และพระอัฏฐารส ที่วิหารวัดสระเกศ เป็นต้น พระพิมพ์ก็ชอบสร้างในสมัยสุโขทัยเหมือนสมัยอื่น แต่แปลงมาเป็นพระพุทธรูปตามคติหินยาน ทำต่างพุทธอิริยาบท มักชอบทำพระลีลา เรียกกันสามัญว่า "พระเขย่ง" อีกอย่างหนึ่งก็ทำเป็นพระนั่ง แต่หลาย ๆ สิบองค์ในแผ่นพิมพ์อันหนึ่ง ในพ.ศ. 2494 หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์และนาย A.B. Griswold ได้แบ่งหมวดหมู่พระพุทธรูปสุโขทัยออกเป็น 5 หมวด คือ 1. หมวดใหญ่ตรงกับหมวดชั้นกลางที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวไว้ จัดเป็นแบบที่งามที่สุด 2. หมวดกำแพงเพชร ลักษณะเหมือนหมวดใหญ่ พระพักตร์สอบจากตอนบนลงมาหาตอนล่างมาก พบสร้างมากที่กำแพงเพชร 3. หมวดพระพุทธชินราช ตรงกับหมวดที่สามที่ทรงกล่าว 4. หมวดพิษณุโลกชั้นหลัง ลักษณะทรวดทรงยาว แบบจืดและแข็งกระด้าง จีวรแข็ง มักทำพระยืน เป็นพระพุทธรูปสุโขทัยชั้นหลัง เมื่อตกเป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยาแล้ว 5. หมวดเบ็ดเตล็ด หมายถึงพระพุทธรูปแบบสุโขทัยซึ่งเข้ากับ 4 หมวดข้างต้นไม่ได้ รวมทั้งแบบวัดตระกวนซึ่งมีลักษณะเป็นพระเชียงแสน ลังกา และสุโขทัย ผสมกัน แบบวัดตระกวนนี้อาจจัดเข้าอยู่ในหมวดชั้นแรกซึ่งมีวงพระพักตร์กลม

ประติมากรรมสมัยอยุธยา

ประติมากรรมสมัยอยุธยา
ประติมากรรมที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยานั้นแบ่งออกไปเป็น 3 ยุค คือ
ยุคแรก เริ่มตั้งแต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ( พระเจ้าอู่ทอง ) ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีตั้งแต่ พ.ศ. 1893 จนถึงสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ( เจ้าสามพระยา ) พ.ศ. 1991 ในยุคนี้ประติมากรรมยังนิยมทำตามแบบฝีมือช่างอู่ทองอยู่ ดังจะเห็นได้จากพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่วัดพนัญเชิง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งสร้างก่อนตั้งกรุงศรีอยุธยาถึง 26 ปี ในยุคแรก ๆ ของกรุงศรีอยุธยานี้ยังไม่มีพระพุทธรูปที่มีลักษณะเฉพาะตนส่วนมากจะมีลักษณะผสมเป็นแบบศิลปะอู่ทอง ลพบุรี และสุโขทัย ปะปนกันไป
ประติกรรมยุคที่สองเริ่มจากสมัยพระบรมไตรโลกนาถไปจนถึงสมัยพระเจ้าปราสาททอง พ.ศ. 2173 พระพุทธรูปในยุคนี้นิยมทำวงพระพักตร์ พระรัศมีตามแบบอย่างศิลปะสุโขทัย และนิยมทำปางมารวิชัย ปางป่าเลไลยก์ ปางประทานอภัย ไม่นิยมสร้างปางลีลา และปางสมาธิ

ประติมากรรมอยุธยายุคที่ 3 เริ่มตั้งแต่แผ่นดิน พระเจ้าปราสาททอง พ.ศ. 2173 มาจนถึงเสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2310 รวมเวลา 157 ปี โดยอาศัยช่วงเวลาที่ยาวนานของกรุงศรีอยุธยา โดยเฉพาะในช่วงหลังจากกรุงศรีอยุธยาได้เจริญสัมพันธไมตรี มีการติดต่อค้าขายกับชาวกัมพูชาและต่างชาติมากขึ้น ทั้งชาวยุโรปและชาวจีนดังนั้น ช่างและศิลปินแขนงต่าง ๆ จึงรับเอาอิทธิพลทางศิลปะและวิทยาการมาจากต่างชาติเหล่านั้น
งานศิลปะกรรมในยุคนี้เน้นหนักไปทางด้นสถาปัตยกรรมและจิตรกรรมมากกว่าด้านประติมากรรมทำให้การสร้างพรพุทธรูปไม้ก้าวหน้าไปกว่าเดิม แต่ในยุคนี้มีพระพุทธรูปที่มีลักษณะเฉพาะของยุคที่นิยมสร้างกันมากคือ พระพุทธรูปทรงเครื่องแบบราชาธิราช ซึ่งมีทั้งแบบทรงเครื่องใหญ่ และทรงเครื่องน้อย นิยมสร้างปางประทานอภัย
อย่างไรก็ตาม ประติมากรรมสมัยอยุธยานั้น แม้จะไม่ให้ความรู้สึกที่สมบูรณ์ด้านความงามหรืออุดมคติมากนักแต่พระพุทธรูปสมัยอยุธยาโดยเฉพาะพุทธรูปทรงเครื่องต่าง ๆ ถือเป็นลักษณะพิเศษของประติมากรรมเป็นพระพุทธรูปของสมัยอยุธยาที่บ่งบอกถึงความพยายามที่จะสร้างเอกลักษณ์ของตนเอง พระพุทธรูปเหล่านั้นได้แสดงให้เห็นถึงความมั่นคงของผู้คนยุคนั้นได้เป็นอย่างดี และส่วนมากเป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยสำริดมากกว่าอย่างอื่น
นอกจากงานประติมากรรมแล้ว งานด้านแกะสลักไม้ทั้งที่เป็นพระพุทธรูปและลวดลายตกแต่งก็มีมากในสมัยอยุธยา ซึ่งแสดงให้เห็นความสามารถชั้นสูงของช่างสมัยนั้น

ประติมากรรมสมัยรัตนโกสินทร์

ประติมากรรมสมัยรัตนโกสินทร์
เมื่อกรุงศรีอยุธยาได้ถูกทำลายเสียหายอย่างมากในคราวเสียกรุงครั้งหลังสุด ศิลปกรรมต่าง ๆ ของกรุงศรีอยุธยาได้ถูกทอดทิ้งกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ทั้งในกรุงศรีอยุธยาและตามหัวเมืองต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ครั้งเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงสร้างกรุงเทพ ฯ ขึ้นในปี พ.ศ. 2325 ได้ทรงสร้างวัดต่าง ๆ ขึ้นเป็นจำนวนมาก และได้โปรดให้รวบรวมพระพุทธรูปในที่ต่าง ๆ ในพระราชอาณาจักรจากพิษณุโลก สวรรคโลก ลพบุรี อยุธยาถึง 1,200 องค์มาบูรณะซ่อมแซมใหม่ และอัญเชิญไปประดิษฐานเป็นพระประธานตามโบสถ์วิหารของวัดที่สร้างขึ้นใหม่
การสร้างพระพุทะรูปขึ้นใหม่ให้มีลักษณะพิเศษตามยุคสมัยของตนเองนั้นจะต้องอาศัยปัจจัยหลายสิ่งหลายอย่าง ทั้งทางด้านปัญญาความคิดและฝีมือของประติมากร ฉะนั้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น หรือยุคต้นของกรุงเทพ ฯ ความสนใจของผู้คนมุ่งไปทางด้านการสร้างบ้านสร้างเมือง สร้างพระนคร อันเป็นการจำลองกรุงศรีอยุธยาขึ้นใหม่มากกว่าที่จะคิดค้นประดิษฐ์พระพุทธรูป จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงทรงฟื้นฟูประติมากรรมขึ้นโดยทางสลักบานประตูวิหารวัสดุทัศน์ทรงปั้นพระพุทธรูปด้วยฝีพระหัตถ์ นอกจากนั้นยังได้โปรดให้เทพวราราม กรุงเทพ ฯ
อย่างไรก็ตามในสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 ทรงสนพระทัยและมีพระราชประสงค์ชักจูงให้สร้างพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ขึ้นใหม่มากถึง 40 ปาง ตามแต่ก็ไม่ได้รับความนิยม คงนิยมสร้างกันแต่ปางเก่า ๆ ที่เคยมีมาแล้ว
ในรัชกาลต่อ ๆ มา คือ รัชกาลที่ 4 – 6 แม้จะมีความพยายามที่จะสร้างพระพุทธรูปให้มีลักษณะคล้ายมนุษย์บ้างสร้างเลียนแบบพุทธรูปคันธาระของอินเดียบาง แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ดังนั้น ประติมากรรมทางด้านพระพุทธรูปของสมัยรัตนโกสินทร์ จึงไม่มีแบบอย่างที่แน่ชัดเป็นของตนเอง ครั้งหลังสมัยรัชกาลที่ 5 ประดาช่างทางศิลปกรรมต่าง ๆ เริ่มหันเหความสนใจไปตามแบบของยุโรปมากขึ้น การสร้างพระพุทธรูปจึงหยุดชะงักไปประติมากรจำนวนมากหันมานิยมแบบอย่างของยุโรป เช่น การปั้นรูปเหมือน และการสร้างอนุสาวรีย์ และเมื่อมีการตั้งสถาบันการศึกษาทางศิลปะขึ้นตามแบบอคาเดของยุโรปในสมัยรัชกาลที่ 6 ทำให้แนวทางการสร้างประติมากรรมของไทยเปลี่ยนแปลงไป และวิวัฒนาการเรื่อยมาจนเป็นประติมากรรมสมัยใหม่ และประติมากรรมร่วมสมัยจนปัจจุบันนี้

ประติมากรรมร่วมสมัย

ประติมากรรมร่วมสมัย
ประติมากรรมร่วมสมัยเริ่มขึ้นเมื่อประมาณปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นยุคที่บ้านเมือง ได้พัฒนาตามแบบอารยประเทศตะวันตกอย่างมากแล้ว รวมถึงศิลปวัฒนธรรมสมัยนั้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนหรืองานด้านจิตกรรมก็ตามได้โน้มเอียงไปทางตะวันตกอย่างมาก
การศึกษาด้านศิลปะและการช่างรัชกาลที่ 6 ได้โปรดให้ตั้งโรงเรียนเพาะช่างขึ้นเพื่อให้การศึกษาด้านศิลปะตะวันตกและศิลปะไทยแก่เยาวชนไทย ซึ่งเท่ากับเป็นการอนุรักษ์และสืบต่อศิลปะและการช่างไทยไว้นอกจากนี้ยังได้จ้างช่างและศิลปินชาวต่างประเทศเข้ามาทำงานศิลปะต่าง ๆ เข้ามาทำงานให้กับทางราชการช่างคนสำคัญที่น่ากล่าวถึงคนหนึ่งคือ นายคอราโด เฟโรจี ซึ่งต่อมาได้โอนสัญชาติเป็นไทย คือ ศาสตราจารย์ศิลปพีระศรี เป็นผู้ทำงานประติมากรรมและออกแบบเหรียญต่าง ๆ ปั้นพระบรมราชอนุสาวรีย์ของพระมหากษัตริย์ไทย และอนุสาวรีย์ไว้หลายแห่ง เช่น อนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ( ปฐมบรมราชานุสรณ์ ฯ ) อนุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราช อนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้น


นอกจากนี้ศาสตราจารย์ ศิลปะ พีระศรี ยังเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากรขึ้นเพื่อให้การศึกษาศิลปะตามแบบอย่างศิลปะสมัยใหม่ และศิลปะร่วมสมัย นับเป็นมหาวิทยาลัยศิลปะแห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งทำให้เกิดจิตกร และประติมากรรมร่วมสมัยขึ้นเป็นจำนวนมาก
โดยเฉพาะประติมากรรมที่ได้รับการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากร และศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี ซึ่งถือเป็นประติมากรร่วมสมัยยุคแรก ๆ ที่ควรกล่าวถึงนั้นมีหลายท่าน อาทิ นายสนั่น สิลากร นายไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ นายเขียน ยิ้มศิร นายพิมาน มูลประมุข เป็นต้น ประติมากรเหล่านี้ได้ทำงานประติมากรรมไว้เป็นจำนวนมาก รูปเหมือนเหรียญต่าง ๆ รูปสัตว์ ตลอดจนถึงงานประติมากรรมร่วมสมัย ซึ่งเป็นที่นิยมกันอยู่ในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตามประติมากรรมร่วมสมัยของไทยในปัจจุบันมีจำนวนมิใช่น้อยทั้งที่มีความสามารถในการปั้นอนุสาวรีย์ รูปเหมือน และเหรียญต่าง ๆ ตลอดจนถึงประติมากรรมร่วมสมัย นับว่าประติมากรรมไทยได้พัฒนามาเป็นลำดับ และก้าวหน้าไปทัดเทียมกับนานาอารยะประเทศ

คำว่า ประติมากรรม

คำว่า ประติมากรรม
มีใช้กันอยู่ 2 คำ คือ ประฎิมา หรือ ปฎิมากรรม เป็นภาษาบาหลี ส่วนอีกคำหนึ่ง ประติมา หรือ ประติมากรรม เป็นคำในภาษาสันกฤต ทั้งสองคำมีความหมายเหมือนกัน คือ รูปที่สร้างขึ้นหรือรูปจำลอง คำทั้งสองนี้ปัจจุบันนิยมใช้คำว่า ประติมากรรม มากกว่า คำว่า ปฎิมากรรม เพราะคำว่า ปฎิมากรรมมักจะใช้กันเฉพาะพระพุทธรูปหรือรูปเคารพ เช่น พุทธรูปก็มักเรียกกันว่าพระพุทธปฏิมา หรือรูปเคารพเช่นเทวรูป ซึ่งบางครั้งเรียกกันว่ารูปปฏิมาปรือประติมากรรม เป็นต้น
ปฎิมากรรมตรงกับภาษาอังกฤษว่า sculpture เป็นคำที่ใช้กันกว้างขวาง ซึ่งหมายถึง ผลงานศิลปะที่เกิดจากการปั้นนั้น การแกะสลัก การหล่อ เป็นต้น สำหรับช่างผู้สร้างสรรค์ค์งานประติมากรรมเรียกว่า ประติมากรตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า sculptor
คำว่า ประติมากร นั้น มักใช้กับผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีความชำนาญในการสร้างงานประติมากรรมตลอดจนฝีมือและลักษณะของตนที่เหนือไปจากฝีมือ ซึ่งช่างมักจะเป็นผู้สร้างงานขึ้นตามแบบอย่างที่มีอยู่แล้วหรือทำขึ้นซ้ำๆ กันเป็นจำนวนมาก ตามแบบดั้งเดิมขาดความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง ซึ่งมักเรียกว่า ช่างฝีมือมากกว่าประติมากร หรือ ศิลปินผู้สร้างงานประติมากรรม
อย่างไรก็ตามประติมากรไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน ได้สร้างประติมากรรมประเภทต่างๆ ไว้ให้เราได้ชื่นชมและศึกษาค้นคว้าเป็นจำนวนมาก ประติมากรรมเหล่านั้นเป็นศิลปกรรมไทย ที่มีคุณค่าและมีเอกลักษณ์เฉพาะตน โดดเด่นแตกต่างกันไปจากประติมากรรมชาติอื่นๆ มีประวัติความเป็นมาและคติการสร้างที่น่าสนใจอย่างยิ่ง

ประติมากรรมคืออะไร

ประติมากรรมคืออะไร
ประติมากรรมเป็นศิลปะปกรรมประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นด้วยการปั้น การแกะสลัก การหล่อหรือวิธีการอื่นๆ ที่ทำให้เกิดความงดงาม ศิลปะที่มี 3 มิติ คือ มีความกว้าง ยาว และลึกหรือหนา งานประติมากรรมอาจทำด้วยวัสดุหลายชนิด เช่น หิน ไม้ ดินเหนียว ปูน อิฐ และโลหะ เป็นต้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ประติมากรรม คือ งานศิลปะที่สร้างขึ้นมาเป็นรูปเป็นลวดราย สามารถมองเห็นได้และกินระวางเนื้อที่ในอากาศ หรือกล่าวโดยสรุป ประติมากรรมก็คืองานศิลปกรรมที่สร้างขึ้น โดยวิธีการปั้น การแกะสลัก การหล่อหรือด้วยวิธีการอื่นใดก็ตาม เป็นรูปที่มองเห็นได้ มีปริมาตร ส่วนรูปแบบขชองประติมากรรมนั้น อาจจะมีรูปร่างของมนุษย์ สัตว์ และสิ่งอื่นๆ หรือเป็นลวดลายสัญลักษณ์ซึ่งอาจจะทำขึ้นเหมือนกันร฿ปตามธรรมชาติของสิ่งนั้นๆ หรืออาจจะเป็นรูปแบบใหม่ที่ผู้สร้างคิดประดิษฐ์ขึ้นเพื่อผลงานทางศิลปะ ความงาม และความนึกคิดต่างๆ ที่ผู้สร้างต้องการจะให้เกิดประติมากรรมนั้น

ประติมากรรมไทย

ประติมากรรมไทย
ประติมากรรมไทย เป็นศิลปกรรมประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นจากฝีมือ ความคิด และความสามารถจองคนไทย โดยสร้างขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ต่างๆ กัน เช่น สร้างขึ้นตามศรัทธาต่อศาสนา สร้างขึ้นตามความเชื่อทางไสยศาสตร์ ขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนถึงสร้างขึ้นตามคตินิยมของชุมชนหรือท้องถิ่น และสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกเป็นอนุสาวรีย์ เป็นต้น
ประติมากรรมสร้างขึ้นด้วยวัตถุหลายชนิด เช่น หิน ไม้ โลหะ ดินเหนียว ดินเผา เป็นต้น
กรรมวิธีในการสร้างสรรค์งานประติมากรรมจะเป็นไปตามลักษณะของวัสดุ เช่น การแกะสลักหิน การแกะสลักไม้ การหล่อด้วยสำริด ทองแดง ทองเหลือง เป็นต้น
ประติมากรรมของไทยนับเป็นศิลปกรรมที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะเป็นงานศิลปะที่สร้างต่อเนื่องมาตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประติมากรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนามีอายุสืบต่อกันมาหลายร้อยปี พุทธประติมากรรมเหล่านี้สะท้อนให้เห็นความศรัทธาในพุทธศาสนาของ ศาสนิกชนและความสามารถในเชิงช่างได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ ประติมากรรมที่สืบทอดกันมาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน นับเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่บ่งบอกถึงความเจริญและความเสื่อมของศิลปวัฒนธรรมไทยแต่ละยุคแต่ละสมัยได้ประการหนึ่ง
จึงนับว่าประติมากรรมเป็นศิลปะประเภทวิจิตรศิลป์ที่มีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ และศึกษาค้นคว้าเป็นอย่างยิ่ง

การแสดงออกของประติมากรรมตกแต่งของไทย

การแสดงออกของประติมากรรมตกแต่งของไทย

เนื่องจากศิลปวัตถุและศิลปะสถานของไทยแบบดั้งเดิมมีการพัฒนา มีวิวัฒนาการดำเนินสร่งมานานนับศตวรรษ จึงสามารถแสดงคุณค่าและลักษณะพิเศษที่เป็นแบบฉบับและเอกลักษณ์ที่เป็นของตนเอง ศิลปกรรมทุกชนิดมีความละเอียดประณีตบรรจง เป็นศิลปะแบบอุดมคติ มีความรู้สึกทางความงามเหนือธรรมชาติช่างไทยโบราณมีฝีมือ ความคิด ความชำนาญเป็นพิเศษ โดยเฉพาะความเข้าใจอย่างลึกซึ้งมรการกำหนดส่วนสัดของช่องไฟ โดยเฉพาะการตกแต่งลวดลาย ซึ่งนอกจากจะมีความงามแห่งเอกลักษณ์ของไทยแก่ศิลปวัตถุและศิลปะสถานเหล่านั้นแล้ว ยังมีหน้าที่และประโยชน์ใช้สอยด้านตกแต่งเพื่อเป็นประโยชน์ ใช้สอยด้านตกแต่งเพื่อเป็นประติมากรรมตกแต่งสะท้อนความเชื่อและประติมากรรมแบบเล่าเรื่องอีกด้วย

1. ประติมากรรมลวดลาย
ประติมากรรมลวดลายของไทยที่ปรากฏแสดงให้เห็นเจตนาอันบริสุทธิ์ ความคิดริเริ่มที่มีแบบอย่างที่เป็นของตนเอง ลวดลายทั้งหลายจะแสดงคุณค่าความรู้สึกในเชื้อชาติและแสดงความเป็นไทยอย่างชัดเจน ลวดลายเหล่านี้มีเส้นสลับซับซ้อน ตัวลาย ทรงลาย ช่อลาย หรือถ้ามีเถา ลายมีความคดโค้งอ้อนช้อยสัมพันธ์ซึ่งการสร้างอารมณ์อ่อนไหวละมุนละไม ที่สำคัญคือการสะบัดเรียวแหลมของยอดกระหนกแต่ละตัวจะไม่แข็งกระด้าง ด้วนกุด และดูไม่ตายแต่เคลื่อนไหวพลิกพลิ้ว การสร้างลวดลายกระหนกทุกเส้น ทุกตัว ทุกทรง และทุกช่อประสานสัมพันธ์กันทั้งในส่วนละเอียด ส่วนย่อย และส่วนใหญ่ ไม่มีการหักงอหรือแข็งกระด้าง ไม่ว่าส่วนไหนก็ตาม
ลวดลายส่วนใหญ่ของไทยได้รับความบันดาลใจจากสิ่งแวดล้อม จากธรรมชาติทั้งพืช สัตว์ และสิ่งอื่นๆ และมีการสร้างสรรค์มานานก่อนสมัยทราวดี ลวดลายสมัยแรกๆ เลียนแบบอย่างจากธรรมชาติ เช่นลายใบไม้ ลายพฤกษาต่างๆ ต่อมากได้คลี่คลายมาเป็นลวดลายที่เป็นแบบประดิษฐ์มีระเบียบแบบแผนมากขึ้น โดยเฉพาะตอนปลายสมันอยุธยาและต้นสมัยรัตนโกสินทร์ ลวดลายจึงมีหลายประเภทและมีชื่อเรียกที่ยังแสดงให้เห็นถึงที่มาจากความบันดาลใจเหล่านั้น เช่น ลายเครือเถา ลายก้านแย่ง ลายตาอ่อย ลายก้ามปู ลายกาบพรหมศร เป็นต้น

ลักษณะลวดลายของประติมากรรมไทยได้แบบอย่างจากธรรมชาติ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

เถาไม้ เป็น ลายเครือเถาไขว้
รวง เป็น ลายรวงข้าว
กอ เป็น ลายกอ
ก้าน เป็น ลายก้านขด ลายก้านแย่ง
ตา เป็น ลายตาอ้อย
ผล เป็น ลายลูกฟัก
ใบ เป็น ลายใบเทศ ลายผักกูด
กาบ เป็น ลายกาบกระหนกรัตน์ ลายกาบไผ่ ลายกาบพรหมศร ลายกาบ
พรหมสิงห์
ดอก เป็น ลายบัวต่างๆ ลายรักร้อยต่างๆ ลายดอกไม้ร่วง ลายดอกพุดตาน
ลายดอกลำดวน ลายดอกจอก ลายดอกมะม่วงหิมพานต์
สัตว์น้ำ เป็น ลายฟันปลา ลายก้ามปู ลายหอยจับหลัก
สัตว์ปีก เป็น ลายนกคาบ ลายผีเสื้อ ลายค้างคาว ลายสาหร่ายรวงผึ้ง
สัตว์บก เป็น ลายหน้าขบ ลายหน้าสิงห์ ลายช่อหางโต ลายหูช้าง

ลวดลายเหล่านี้มีอยู่เป็นจำนวนมากจนจัดเป็นศาสตร์ที่ถูกกำหนดให้เป็นแบบแผนพอสมควร และช่างไทยทั้งหลายต้องศึกษาจนเข้าใจชีวิตของลวดลายเล่านี้ จนสาสมารถพัฒนาประยุกต์การใช้ลวดลายให้เหมาะสมกับพื้นที่และประโยชน์ใช้สอยตามประเภทของประติมากรรมไทยจะมีทั้งขุดแกะด้วยไม้ ปั้นหล่อด้วยโลหะ ปั้นด้วยปูน ประดับด้วยการลงสี ลงรักปิดทอง ประดับมุก ประดับกระเบื้อง ประดับกระจกหุง หรือสลักดุนนูนด้วยโลหะ หนฃรือลายนำ ลายมาใช้จึงต้องสัมพันธ์กันด้วยตัววัสดุ กลวิธี และเทคนิควิธีการสร้างงานประติมากรรม รวมทั้งพื้นที่และวัตถุประสงค์ออกของศิลปกรรมเหล่านั้นด้วย
การออกแบบลวดลายเพื่อใช้ในงานประติมากรรมของช่างไทยจะออกแบบต่างๆ กัน ตามวัสดุที่ใช้ทำลวดลายเป็นหิน ปูน หรือดินเผา การออกแบบลายก็จะมีเส้นหยาบ ทึบ ป้อม มิให้ลวดลายชูยอดไปจากพื้นมากนัก เพราะต้องช่วยรับน้ำหนักตัวเอง มิฉะนั้นจะแตกหักง่าย ถ้าเป็นปูนหรือดินเผาที่เป็นวัสดุละเอียดกว่าหิน เมื่อยังอ่อนตัวอยู่จะตกแต่งเป็นลายได้สะดวก มีน้ำหนักเบากว่า แต่การชูดอกของลายไม่ควรสูงจากพื้นเช่นกัน เพราแตกหักงาย แต่ถ้าเป็นการปั้นดินเพื่อไปหล่อโลหะ การออกแบบลายจะละเอียดกว่าการปั้นดิน และนำไปเผาธรรมดา และถ้าวัสดุที่สร้างศิลปกรรมนั้นเป็นไม้ ลวดลายจะเริ่มมีความละเอียดอ่อนหวาน สะโอดสะองมากขึ้น เพราะไม้เป็นวัสดุเนื้ออ่อน จำหลักง่าย น้ำหนักเบา ตัวลายยื่นออกมา จากพื้นได้มาก อีกทั้งยังสามารถซ้อนกันได้หลายชั้น
ช่างไทยทั้งหลายมีความชำนาญในการใช้วัสดุต่างๆ ดังกล่าวซึ่งมีอย่างอุดมสมบูรณ์ในพื้นถิ่นของไทย และเลือกสรรวัสดุเหล่านั้นมาสร้างงานประติมากรรมช้านานแล้ว จนสามารถเข้าใจถึงธรรมชาติของวัสดุเหล่านั้น เป็นอันดีจนเข้าใจในการเลือกกลวิธี เทคนิควิธรใช้วัสดุเหล่านั้นเพื่อผสมผสานส่งเสริมศิลปกรรมให้แสดงอารมณ์คุณค่า ความรู้สึกตามที่ช่างไทยปรารถนา การมีวัสดุใช้ในการสร้างศิลปกรรมอย่างอุดมสมบูรณ์ในพื้นถิ่นของไทย ทำให้สามารถสร้างสรรค์ได้อย่างเต็มที่ ไม่ต้องพะวงถึงความไม่พอใจหรือประหยัดจนเกิดไป มีส่วนทำให้ลวดลายของไทยมีความละเอียดประณีต วิจิตรอลังการ แสดงความอุดมสมบูรณ์ในการใช้ลวดลายประดับในทุกส่วนของศิลปกรรมและศิลปะสถานของไทย

2. ประติมากรรมตกแต่งสะท้อนความเชื่อ
การประดับตกแต่งบริเวณฐานของสถาปัตยกรรมหรือศิลปวัตถุทางศาสนา เช่น โบสถ์ วิหาร เจดีย์ พระปรางค์ บุษบก ธรรมาสน์ หรือประสาทราชมณเฑียร หรือปราสาทราชมณเฑียร พระที่นั่งของพระมหากษัตริย์ นอกจากจะตกแต่งให้ศิลปวัตถุเหล่านั้นมีความวิจิตรบรรจงละเอียดประณีตแล้ว ยังแสดงออกถึงความเชื่อเกี่ยวกับพุทธศาสนาที่ยึดถือคติไตรภูมิ เปรียบเป็นการจำลองรูปจักรวาลทางพุทธศาสนาลดหลั่นสูงต่ำ ความสำคัญของฐานแห่งชั้นต่างๆ ดังนี้ คือ
2.1 พื้นที่รองรับศิลปสถานนั้น ตั้งอยู่เปรียบเสมือนเป็นมนุษย์ภูมิโดยเฉพาะชมพูทวีป อันเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ทั้งหลายนี้
2.2 ฐานชั้นล่างสุดของศิลปะวัตถุหรือศิลปสถาน มักเป็นกรดานสลักลาดลายรอยรับฐานสิงห์ บัวหลังสิงห์ อันแปลงมาจากสิงห์ล้อม ถ้าเป็นฐานศิลปกรรมประเภทบุษบกหรือฐานอาคารสำคัญของชาติ บางทีจะจำหลักเป็นรูปสิงห์แบกล้อมรอบฐาน ณ ตำแหน่งนี้เป็นสัญลักษณ์ถือว่าเป็นแดนมนุษย์ที่สงัด สงบ เบาจากกิเลสตัณหา เป็นที่อยู่แห่งสิงสาราสัตว์ในวรรณคดีทั้งหลาย และมนุษย์ที่อยู่ในเพศอันบริสุทธิ์ ได้แก่ ฤาษีชีไพร นักบวช อมนุษย์ เช่น พวกนักสิทธิวิทยาธร
2.3 สูงจากฐานสิงห์เหนือบัวหลังสิงห์มักจะเป็นฐานเชิงบาตร 2 ชั้น มีลักษณะดังนี้

1. ฐานเชิงบาตรรชั้นล่าง ถ้าเป็นฐานศิลปกรรมหรือศิลปสถานที่สำคัญของชาติ เช่น พระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงห์ทอดเหนือพระราชบัลลังก์ หรือพระแท่นพระราชบัลลังก์มหาเศวตฉัตร ในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย หรือฐานพระอุโบสภวัดพระศรีรัตนศาสดารามจะใส่ประติมากรรมรูปครุฑยุดนาคเต็มตัวตั้งรายรอบศิลปกรรมเหล่านั้น ถ้าเป็นศิลปกรรมที่มีความสำคัญรองลงมาหรือฐานโบสถ์ วิหารวัดธรรมดาสามัญทั่วไปส่วนนี้ของศิลปะวัตถุหรือศิลปสถานเหล่านั้นจะเป็นเส้นกลมเล็ก ๆ รัดท้องไม้แล่นไปตลอดศิลปกรรม ถ้ามนกลมเรียกว่า “รัดอกลูกแก้ว” ถ้าสันแหลมเรียกว่า “รัดเอวอกไก่” และมักใส่ลวดลายรัดร้อยไปโดยตลอด การใช้ครุฑหรือรัดอกลูกแก้วหรือรัดเอวอกไก่นี้เป็นสัญลักษณ์ให้ความหมายถึงแดนครุฑที่มีที่อยู่เชิงพระสุเมรถ อันเป็นตำแหน่งที่เริ่มใกล้ศูนย์กลางของจักรวาลตามคติไตรภูมิ เพราะตามตำนานกล่าวได้ว่าครุฑมีที่อยู่ที่ป่างิ้วในสระชื่อ สิมพลี สระนี้อยู่ตีนเขาพระสุเมรุซึ่งเป็นแกนกลางของจักรวาลตามคติไตรภูมิ
2 ) ฐานเชิงมาตรชั้นบน ถ้าเป็นฐานศิลปกรรมหรือศิลปะสถานที่สำคัญของชาติ มักจะใส่ประติมากรรมรูปเทวดานั่งคุกเข่าพนมมือ ติดตั้งรายรอบศิลปกรรมเหล่านั้นเช่นกัน หากเป็นศิลปกรรมที่มีความสำคัญรองลงมา ช่างจะประยุกต์รูปแบบเทวดาให้คล้อยตามไปกับส่วนประกอบอื่น ๆ ของศิลปะวัตถุ โดยทำเป็นรูปกระจังเจิงหรือกระจังปฏิญาณ ตรงกลางายเป็นรูปเทพนม หรือถ้าเป็นโบสถ์หรือธรรมาสน์วัดสามัญธรรมดาก็จะประดับด้วยกระจังธรรมดา รูปเทวดาที่นั่งพนมมือ รูปกระจังปฏิญาณ กระจังเจิม หรือกระจังธรรมดาที่ติดเหนือฐานชิ้นนี้ เป็นรูปสัญลักษณ์ที่ให้ความหมายถึงเทวดาในสวรรค์ชั้นแรก คือ สวรรค์ชั้นจาตะมหาราชิกเหนือยอดเขยุคนธร เป็นเขาที่ตั้งล้อมเขาพระสุเมรุเป็นชั้นแรก และเทวดาในชั้นนี้คือท้าวจุติโลกบาลทั้ง 4 พร้อมบริวารที่ปกปักรักษาทิศต่าง ๆ ของจักรวาลตามคติไตรภูมิ ประติมากรรมตกแต่สะท้อนความเชื่อ – ลายเอียดฐานเช บางตรชั้นบน ฐานเชิงบาตรชั้นบนพระทับภาพเทวดานั่งคุกเข่าพนมมือ สัญลักษณ์ให้ความหมายถึงเทวดาในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกเหนือยอดเขายุคนธร ประติมากรรมที่ฐานพระมณฑป วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพ ฯ ศิลปรัตนโกสินทร์
2.4 เหนือจากชั้นเชิงบาตรขึ้นไป ถ้าเป็นโบสถ์วิหารจะเป็นที่ประดิษฐานแห่งองค์พระพุทธรูป ถ้าเป็นบุษบก บัลลังก์ พระที่นั่งจะเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ เป็นพระธาตุซึ่งเป็นสัญลักษณ์แสดงเครื่องหมายแห่งยอดเขาพระสุเมรุ อันเป็นที่ประทับแห่งองค์อัมรินทร์ที่ประดิษฐานแห่งเจดีย์จุฬามีอันบรรจุพระเกษศมาลา พระธาตุเขี้ยวแก้วของพระพุทธองค์ และยอดเขาพระสุเมรุนี้เป็นแกนกลางของจักรวาลคติไตรภูมิ

3. ประติมากรรมแบบเล่าเรื่อง
ประติมากรรมแบบเล่าเรื่องเป็นประติมากรรมเทคนิคปูนปั้นหรือแกะสลักเป็นภาพนูนสูงและนูนต่ำลงบนส่วนผัง หรือหน้าบ้านของอาคาร โดยแสดงเรื่องราวศาสนาเกี่ยวกับพุทธประวัติหรือทศชาติ โดยประติมากรรมจะเลือกเรื่องหรือตอนที่สำคัญ ๆ นำมาแสดงโดยจะปั้นภาพแต่ละกลุ่มด้วยตัวเองของเรื่อง เช่น พระพุทธองค์หรือโพธิสัตว์ในพระชาติต่าง ๆ เป็นประธานหรือเป็นหลักขององค์ประกอบและมีตัวประกอบอื่น ๆ เช่น เทวดา พระญาติพระวงศ์ของพระพุทธเจ้า ตามแนวเรื่องที่ต้องการเพียงไม่กี่รูปทรง อาจมีสิ่งของเครื่องใช้ เครื่องประดับ หรือส่วนของอาคารปราสาทราชมณเฑียรเป็นฉากหลังของภาพ หรือมีโขดเขา ต้นไม้ สายน้ำ หรือสัตว์ ต่าง ๆ แทรกอยู่ตามสมควร


น่าพิศวงที่การจัดภาพเพียงน้อยนี้ทำให้ผู้ดูสามารถทราบเรื่องราวพุทธประวัติหรือทศชาติตอนนั้นโดยสมบูรณ์ คล้ายได้อ่านวรรณคดีหรือชาดกแจ่มแจ้งและเข้าใจ และสืบเนื่องจากประติมากรรมไม่มีสี รูปทรงอาจจะแสดงลึกตื้น ใกล้ไกลได้โดยประติมากรจะลดหรือเพิ่มขนาด ความนูนสูงต่ำของรูปทรงในผนังภาพ เพื่อให้เกิดระยะในความรู้สึกได้ เช่น ภาพปูนปั้นปางรูปพระพุทธองค์เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พระลักษณะขององค์พระพุทธรูปเป็นภาพที่มีความนูนสูงกว่าและมีขนาดใหญ่กว่าทุกรูปที่ปรากฏในช่องภาพ เป็นพระพุทธรูปปางลีลา แม้พระเศียรจะถูกกะเทาะตัดออกไป แต่ลีลาของเส้น ความนูนโค้งของปริมาตรในรูปทรงสร้างอารมณ์ความมีชีวิตอย่างเด่นชัด จนได้รับยกย่องโดยทั่วไปว่าเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นนูนสูงที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่ง ภาพพระพุทธองค์นั้นเคลื่อนองค์อยู่บนรัตนโสปานะ ( บันไดแก้ว ) แวดล้อมด้วยภาพอินทร์ พระพรหมที่ขนาดรูปร่างเล็กกว่าภาพนูนต่อกว่า ทำให้รู้สึกระยะไกลใกล้ขึ้นในภพ
นอกจากภาพพุทธประวัติปูนปั้นสมัยสุโขทัยที่วัดตะพังทองหลางที่กล่าวมาแล้วยังมีภาพประติกรรมเล่าเรื่องที่สำคัญและสวยงามอีกคือ ภาพปูนปั้นเรื่องทศชาติประดับผนังหุ้มกลองหน้าด้าน และภาพปูปนพุทธประวัติประดับผนังหุ้มกลองด้านหลังพระวิหารวัดไลย์ จังหวัดลพบุรี และภาพปูนปั้นพุทธประวัติประดับผนังนอกของพระเมรุ พระระเบียงคด รอบพระพุทธปรางค์วัด
พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นเป็นศิลปะสมัยอยุธยา หรือประติมากรรมฝาผนังเรื่องพุทธประวัติ รอบพระวิหารพระพุทธบาทวัดบางกระพร้อม อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม และประติมากรรมปูนปั้นเรื่องพุทธประวัติ ศาลาเปรียญวัดทองนพคุณ กรุงเทพมหานคร เป็นประติมากรรมสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีภาพประติมากรรมเล่าเรื่องวรรณคดี เช่น ประติมากรรมแกะสลักหินอ่อนนูนต่ำเรื่องรามเกียรติประดับผนังพระอุโบสถวัดพระเชตุพน ฯ กรุงเทพมหานคร จำนวน 145 ภาพ ใน 145 ช่อง เป็นต้น

ปัจจัยทางวัสดุของประติมากรรมไทย


ปัจจัยทางวัสดุของประติมากรรมไทย


วัสดุเป็นส่วนหนึ่งของเงื่อนไขและปัจจัยของการแสดงออกของประติมากรรมที่สร้างให้ประติมากรรมไทยมีคุณค่าและลักษณะพิเศษที่เป็นลักษณะไทยแตกต่างไปจากชาติต่าง ๆ เช่นเดียวกับจิตรกรรมไทย แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปบ้างตามรสนิยม และความเจริญเปลี่ยนแปลงของสังคม แต่ประติมากรรมยังรักษาคุณค่าความงาม ความรู้สึก และลักษณะของความเป็นไทยตลอดมา และเนื่องจากจิตรกรรมและประติมากรรมมีการสร้างและกระทำพร้อมกันในแต่ละยุคสมัย ทั้งในอดีต ปัจจุบัน ย่อมมีพื้นฐานปัจจัยที่มีเงื่อนไขต่อการแสดงออกเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านภูมิศาสตร์ ด้านสังคม ด้านประวัติศาสตร์ ด้านศาสนา และด้านวัสดุ ที่หล่อหลอมให้เกิดลักษณะไทยงานประติมากรรมขึ้นในที่นี้จะกล่าวเฉพาะปัจจัยด้านวัสดุของประติมากรรมไทย

วัสดุที่นำมาสร้างงานประติมากรรมไทยมีหลายชนิด วัสดุเป็นสิ่งที่ใช้ในการสร้างสรรค์รูปทรง และแสดงเนื้อหาสาระตามความประสงค์ของประติมากรรมที่ต้องการแสดงออก วัสดุเหล่านี้มีความหลากหลายในคุณลักษณะหรือคุณสมบัติแตกต่างกันไป วัสดุบางชนิดแข็ง บางชนิดนุ่ม บางชนิดกึ่งแข็งกึ่งนุ่ม คุณสมบัติเหล่านี้มีความสำคัญต่อการสร้างสรรค์ประติมากรรมเป็นอย่างยิ่ง ได้แก่ ดิน หิน ไม้ ปูน โลหะ งาช้าง ขี้รัก และหนังสัตว์.

1. ดิน
ดินเป็นวัสดุพื้นฐานในการปั้นรูปต่าง ๆ เมื่อปั้นเป็นรูปทรงทางประติมากรรมต่าง ๆ แล้วนำไปดำเนินการหล่อเป็นโลหะ เช่น พระพุทธรูปหรือเทวรูปทั้งหลาย พื้นฐานเบื้องต้นของการดำเนินการนั้นมาจากดินทั้งสิ้นหรือเมื่อปั้นเป็นรูปทรงทางประติมากรรมตามประสงค์แล้วผึ่งแดดให้แห้งและนำไปเผาให้สุก จะมีเนื้อแข็งทนถาวาร เช่น ภาพพระโพธิ์สัตว์ นางอัสปร นักดนตรี ดินเผาประดับสถาปัตยกรรมในสมัยทวารวดี พระพิมพ์ดินเผาสมัยศรีวิชัย เป็นต้น
นอกจากนี้ ถ้านำมาเคลือบด้วยน้ำยาเคลือบ ก็จะได้เครื่องปั้นดินเผา ดังเช่นสมัยสุโขทัยมีการทำเครื่องตกแต่งประดับพุทธสถานด้วยเครื่องปั้นดินเผาเป็นจำนวนมาก ได้แก่ บราลีกระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องเชิงชาย ลายประดับผนัง หัวนาค หัวมกร ยักษ์ เทวดา นางอัปสร ฯลฯ


2. หิน
ประเทศไทยมีหินอุดมสมบูรณ์ หินมีอยู่หลายชนิดที่สามารถนำมาใช้เป็นวัสดุสร้างงานประติมากรรมได้ ที่นิยมใช้คือหินทราย
2.1 หินในประติมากรรม ทั้งพระพุทธรูป พระโพธิสัตว์ ใบเสมา รวมทั้งธรรมจักรและกวางหมอบหลายองค์และหลายชิ้นใช้ชิ้นเป็นวัสดุในการสร้างสรรค์ เช่น ประธานวัดชุมพลนิกายาราม เป็นพระพุทธรูปสลักหินสมัยพระเจ้าปราสาททอง ศิลปะอยุธยา พระพุทธรูปศิลางาม ๆ หลายองค์ที่วัดพระศรีมหาธาตุและที่ปรางค์ 3 ยอด ลพบุรี สร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ศิลปะอยุธยา หรือธรรมจักรและกวางหมอบสลักหินในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร ศิลปทวารวดี เป็นต้น
2.2 หินในประติมากรรมตกแต่ง ภาพหรือลดลายตกแต่งประดับอาคารที่พบเห็นมากที่สุดในการสร้างสรรค์ศิลปะในสมัยลพบุรี หรือรูปสลักภาพรามเกียรติ์ ประดับผนังพระระเบียงพระอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมลมัคลาราม เป็นต้น


3. ไม้
วัสดุที่มีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ในธรรมชาติของไทยมีทั้งไม้สัก ไม้ปลู ไม้โมก ไม้ลมุล ฯลฯ ล้วนเป็นไม้เนื้อแน่นละเอียดเหมาะสม ช่างไทยนำมาใช้สร้างสรรค์ประติมากรรมเป็นจำนวนมาก และทำสืบต่อมาเป็นเวลานาน
งานจำหลักไม้มีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก มีทั้งการแกะสลักพระพุทธรูป เทวรูปเทวดา งานที่ใช้สำหรับรับตกแต่งศิลปะวัตถุทางศาสนาและมหากษัตริย์เป็นส่วนใหญ่ เช่น จำหลักลายพระสถูปเจดีย์ พระที่นั่งบุษบกมาลาประดับเสลี่ยงราชยาน จำหลักลายหน้าบัน คันทวย บานประตู หน้าต่างดบสถ์ วิหาร หรือปราสาทมณเฑียรแม้แต่เรือพระที่นั่งสำคัญ ๆ ของพระมหากษัตริย์สิ่งที่รองลงของเครื่องจำหลักไม้ก็คือ การจำหลักเครื่องเรือนไทย มีทั้งจำหลักลวดลายหรือเรื่องราวตลอดทั้งชิ้น และจำหลักแต่เพียงส่วนล่าง นอกจากนั้นใช้กรรมวิธีอื่น ๆ เช่น ลายรดน้ำ ลายประดับมุก ตกแต่งเครื่องเรือนในวิจิตรพิสดารอีกทีหนึ่ง
ไม้ที่นิยมนำมาจำหลักประติมากรรมทุกชนิดก็คือ ไม้สัก เพราะเป็นไม้เนื้อไม่แข็งจนเกินไป ช่างสามารถใช้เครื่องมือจำหลักให้อ่อนไหวพลิกพลิ้วมือและใจปรารถนาของช่างได้เนื่องจากไม้เป็นวัสดุที่ใช้สร้างสรรค์ประติมากรรมของไทยมานาน และสำคัญมากสิ่งหนึ่งจึงมีงานสลักไม้ชิ้นสำคัญ ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก
เครื่องจำหลักไม้ที่พบเก่าแก่ที่สุดเป็นเครื่องจำหลักไม้สมัยสุโขทัย คือเพดานสลักไม้บรรจุเหนือฝ้าเพดานที่วัดพระศรีรัตนมาหาธาตุ สวรรคโลก และเครื่องไม้จำหลักซุ้มเรือนแก้วหลังพระพุทธชินราช พิษณุโลก และถ้าพิจารณาลายปูนปั้นเช่นที่วัดนางพญา ศรีสัชนาลัยสุโขทัย จะเห็นว่าช่างมีความสามารถสูง มีฝีมือเป็นเยี่ยมและนำมาใช้ในการสลักไม้ จึงเชื่อว่าสุโขทัยคงจะมีเครื่องจำหลักไม้ที่งดงามอีกมาก แต่พุพังไปตามกาลเวลา แต่อย่างไรก็ตามเครื่องจำหลักไม้ได้มีวิวัฒนาการต่อมาในสมัยอยุธยาและเจริญสูงสุด ในสมัยอยุธยามีตั้งแต่สลักพระพุทธรูปขนาดเล็ก ลายประดับตกแต่งสถาปัตยกรรม หน้าบัน บานประตูหน้าต่าง ธรรมาสน์ สังเค็ด โขน เรือตู้พระธรรม ฯลฯ งานจำหลักไม้แบบนูนบนบานประตูที่น่าสนใจในสมัยอยุธยา ได้แก่
- บานประตูที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยาพระนครศรีอยุธยา 3 ชิ้น รูปเซี่ยวกาง บานประตูรูปเทวดาถือพระขรรค์และช่อกระหนก และบานประตูรูปเทวดา บานประตูทั้ง 3 จำหลักนูนสูงเป็นของสมัยอยุธยาตอนต้นที่งดงามมากแม้ส่วนใหญ่จะชำรุดแล้วก็ตาม
- บานประตูวิหารวัดพนัญเชิง และวิหารน้อยวัดหน้าพระเมรุ ศิลปะประมาณสมัยพระเจ้าประสาททอง
- บานประตูไม้จำหลักรูปเทวดาบาลยืนบนแท่นที่ยักษ์กำลังแบก เป็นศิลปะสมัยพระนารายณ์มหาราชอยู่ที่วิหารแกลบวัดท่าพระ กรุงเทพมหานคร
- บานประตูหน้าต่างจำหลักไม้ของวัดใหญ่จอมปราสาท สมุทรสาคร เป็นรูปธรรมชาติ ภูเขา ต้นไม้ นกกินรี ฯลฯ และมีลวดลายประกอบ
- บานประตูศาลาการเปรียญวัดใหญ่สุวรรณราม เพชรบุรี เป็นลายจำหลักไม้ลายก้านขด
นอกจากนั้นยังมีธรรมาสน์และสังเค็ดที่สวยงามหลายที่ เช่น ที่วัดศาลาปูน วัดหน้าพระเมรู พระนครศรีอยุธยา และเครื่องครุภัณฑ์แกะไม้ที่สวยงามอื่น ๆ อีกมาก
ที่สำคัญมีตู้พระธรรมสมัยอยุธยา จำหลักไม้เรื่องทศชาติชาดกบนบานตู้ทั้ง 2 และด้านข้างซ้ายขวาการจัดภาพจำหลักบนตู้พระธรรมใบนี้มีลักษณะเดียวกับการจัดภาพของภาพจิตรกรรมฝาผนังในสมัยอยุธยาโดยทั่วไป พื้นหลังของภาพตู้พระธรรมใบนี้เป็นสีชาด ส่วนสถาปัตยกรรมบางส่วนเปิดทอง ทำให้ส่วนนั้นเด่นขึ้นและเกิดความแตกต่างทางด้านความลึกลับในส่วนที่ไม่ได้ปิดทอง บุคคลที่ปรากฏในภาพ ตัวเอกแต่งกายเหมือนภาพพระ – นางในจิตรกรรม และเน้นด้วยกรปิดทองเหมือนกัน ส่วนภาพบุคคลธรรมดาน่าสนใจมาก เพราะแสดงให้เห็นวัฒนธรมการแต่งกาย การไว้ผม และชีวิตความเป็นอยู่ของคนในยุคอยุธยาตอนปลายได้เป็นอย่างดี ตู้พระธรรมใบนี้ ปัจจุบันอยู่ในห้องจัดแสดงศิลปะอยุธยา อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
เครื่องจำหลักไม้สมัยรัตนโกสินทร์มีปรากฏอยู่มากเช่นเดียวกับสมัยอยุธยา ที่ถือว่ามีค่าสูคือ บานประตูสลักไม้วิหารหลวงวัดสุทัศน์เทพวนราม กรุงเทพมหานคร เป็นฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นรูปพรรณพฤกษาซ้อนกันถึง 3 ชั้น มีภาพสัตว์ประเภทนก กระรอก กระต่าย ลิง ฯลฯ ประกอบเป็นการสลักไม้ที่สลับซับซ้อนงดงามมาก ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ พระนคร นอกจากนั้นยังมีเครื่องจำหลักไม้อื่น ๆ ที่มีชื่อ เช่น ธรรมาสน์ทรงกลม ที่นำมาจากจังหวัดนนทบุรี พระราชยาน หมู่เรือนพระราชพิธีธรรมมาสน์ รวมทั้งพวกเครื่องเรือน ประเภทตู้เตียงต่าง ๆ ของพระมหากษัตริย์และเจ้านายชั้นสูง ก็อยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ตามบ้านโบราณและตามวังเก่าที่เก็บรักษาไว้ นั่นแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการจำหลักไม้กับศิลปะไทยเป็นอย่างยิ่ง


4. ปูน
ปูนเป็นวัสดุที่ช่างปั้นไทยเราคุ้นเคยมาแต่โบราณ มีความเชี่ยวชาญ ช่ำชอง และเข้าใจในธรรมชาติของวัสดุชนิดนี้เป็นอย่างดี โดยนำเอาหินปูนมาเผาให้สุกและป่นทำให้เป็นผงเมื่อผสมน้ำยาจะทำให้เกิดความเหนียวนุ่มขึ้น ใช้ปั้นเป็นภาพ เช่น พระพุทธรูป เทวรูป เทวดา นางอัปสร และปั้นเป็นลวดลายประดับอาคารต่าง ๆ ขณะปั้นมีความอ่อนนุ่มคล้ายปั้นด้วยดินเหนียว เมื่อทิ้งระยะเวลาหนึ่งก็แข็งตัวภายหลัง และเช่นเดียวกับวัสดุที่เป็นไม้ ช่างได้นำปูนมาสร้างสรรค์งานประติมากรรมมาแต่โบราณ จึงมีผลงานสำคัญมากมาย ได้แก่
4.1 ประติมากรรมรูปเคารพ มีพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ เช่น พระอัจนะ และพระอัฎฐารส จะใช้ศิลาแลงหรืออิฐก่อเป็นแกน และโบกปูนปั้นแต่งภายนอก พระขนาดใหญ่ของศิลปะสมัยสุโขทัยนี้มีอยู่จำนวนมาก โดยเฉพาะพระอัจนะเป็นพระพุทธรูปนั่งปรางมารวิชัย และพระอัฎฐารสเป็นพระพุทธรูปประทับยืนหรือปางประทานอภัย พระอัจนาและพระอัฎฐารสปูนปั้นที่สำคัญ คือ พระอัจนะพระประธานในพระมณฑปวัดศรีชุมจังหวัดสุโขทัย พระอัจนาในมณฑปวัดตะพังทองหลาง พระอัฎฐารสวัดสะพานหิน สุโขทัย พระอัฎฐารสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก เป็นต้น
4.2 ประติมากรรมตกแต่งสถาปัตยกรรม ประติมากรรมปูนปั้นที่มีชื่อเสียง คือ ลายปูนปั้นสุโขทัยการผสมปูนเพื่อปั้นภาพเหล่านี้แสดงถึงความชำนาญของช่าง ปูนที่ผสมนี้เรียกว่า “ปูนเพชร” เมื่อแห้งดีแล้วจะมีความแข็ง ทนทานต่อดินฟ้าอากาศ

งานปูนปั้นที่มีคุณค่าของสมัยสุโขทัยช่วงนี้ที่สำคัญมีดังนี้คือ
1 ) ภาพปูนปั้นในซุ้มด้านทิศใต้ของมณฑปวัดตะพังทองหลาง เป็นภาพพระพุทธรูปปางเสด็จจากดาวดึงส์ ลักษณะพระพุทธรูปนูนสูงปานลีลาเป็นทิพยลักษณ์งดงามมาก เครื่ององค์อยู่บนรัตนโสปานะ ( บันไดแก้ว ) แวดล้อมด้วยพระอินทร์ พระพรหมที่มีขนาดเล็กกว่าภาพนูนต่ำ แม้พระเศียรองค์พระพุทธรูปจะหักแต่มิได้ทำให้คุณค่าทางศิลปะลดน้อยลงแต่อย่างใด จัดได้ว่าเป็นภาพปูนปั้นที่มีชื่อเสียงและสวยงามที่สุด
2 ) ภาพปูนปั้นประดับหน้ซุ้มปรางค์ทิศ วัดมหาธาตุ สุโขทัย เป็นภาพพุทธประวัติประกอบลวดลาย หน้ากาล มกร และกินนร
3 ) ปูนปั้นฐานเจดีย์วัดเจดีย์สี่ห้อง ภาพเทพ นางอัปสรยืนถือหม้อ ต้นไม้ ดอกไม้ กับรูปราชสีห์ นั่งบนคอช้างหมอบโผล่จากฐานเจดีย์ ฝีมือสูงมาก ภาพให้ชีวิตและอารมณ์เคลื่อนไหวกลมกลืนกันดี
4 ) ภาพปูนปั้นประดับฐานชั้นล่างของเจดีย์เหลี่ยมหน้าวิหารวัดพรพายหลวง สุโขทัย มีอิทธิพลอินเดียใต้อยู่ ทั้งทรวดทรงของเทวดา ท่านั่งอัญชลีและเครื่องประดับต่าง ๆ เป็นต้น
5 ) ลายปูนปั้นสถาปัตยกรรมของอยุธยาก็ปั้นได้อย่างวิจิตรพิสดารลักษณะเป็นลวดลายกระหนกที่ประดิษฐ์เป็นแบบแผนของศิลปกรรมยุคนี้ ปั้นประดับตามหน้าบันซุ้มประตู หน้าต่างโบสถ์ วิหาร ที่สำคัญในยุคนี้ คือ ลายปูนปั้นพระอุโบสถวัดเขาบันไดอิฐ เพชรบุรี ฝีมือช่างสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ สวยงามทั้งด้านหน้า ด้านหลัง ลายปูนที่ซุ้มประตูวิหารหลวง วัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา ฝีมือช่างสมัยเดียวกัน และลายปูนปั้นที่ซากพระอุโบสถวัดภูเขาทองเป็นลายเชิงกรวยที่ปั้นด้วยฝีมือครูอย่างแท้จริง ลักษณะภายนอกเป็นโครงลายจะดูซ้ำ ๆ กัน แต่เมื่อพิจารณาแต่ละตัวลายเป็นอย่างละเอียดจะพบความแตกต่างกันออกไปอย่างมากมาย
5. โลหะ
ช่างไทยรู้จักใช้โลหะมาสร้างงานประติมากรรมมานานแล้วไม่ต่ำกว่า 700 ปี โลหะที่นิยมใช้มีทองแดง ทองสำริด ชิน นาค เงิน ทองคำ เป็นต้น การใช้โลหะมาใช้สร้างประติมากรรม เป็นกระบวนการสุดท้ายของการปั้น – หล่อ เมื่อปั้นดินได้เนื้อหาและคุณค่าตมต้องการแล้วจึงนำมาหล่อ นอกจากจะทำให้งานประติมากรรมชิ้นนั้นมีคุณค่าแล้ว ยังทำให้อายุและความงดงามของศิลปวัตถุนั้นยืนยานขึ้น ผลงานประติมากรรมหล่อโลหะที่มีชื่อเสียงอยู่อย่างมากมาย เช่น พระศรีศายมุนี พระประธานพระอุโบสภ์ทัศน์ ฯ กรุงเทพมหานคร พระพุทธชินรราช พระประธาน พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก พระสยามเทวาธิราชทองคำประดิษฐานอยู่ในพระที่นั่งไพศาลทักษิณในพระบรมมหาราชวัง เป็นต้น
การใช้โลหะสร้างงานประติมากรรมมิได้จำกัดอยู่แต่การทำรูปภาพและลวดลายในประติมากรรมรูปเคารพเท่านั้น แต่ยังมีการทำโลหะนำมาแผ่เป็นแผ่นแล้วนำไปบุรอบศิลปะสถานหรืออาคารสาถน ประเภทพระ สถูป เจดีย์ หรือพระปรางค์ขนาดใหญ่ เช่น พระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน เป็นต้น
6. งาช้าง
งาช้างเป็นวัสดุที่มีค่า เป็นงาของช้างที่แต่เดิมมีอยู่อย่างชุกชุมทางภาคเหนือของไทย ปัจจุบันมีจำนวนลดลงน้อยลง งาช้างมีขาวนวลเหลือง มีเนื้อละเอียด เป็นวัสดุมีขนาดไม่ใหญ่ ไม่คงคนทนต่อการใช้งานหนัก วิธีการนำไปสร้างประติมากรรมใช้วิธีแกะสลักเอาส่วนที่ไม่ต้องการออก งานที่ใช้จึงนำไปทำเป็นลวดลายประดับประเภทประณีตศิลป์เป็นส่วนใหญ่ เช่น แกะเป็นดวงตราประทับหนังสือ แกะลวดลายประกอบใบประกับหน้าสมุดข่อยคัมภีร์โบราณ ทำด้ามเครื่องดนตรี ทำด้ามพัดยศหรือตกแต่งพระราชยาน เป็นต้น ทำประติมากรรมรูปเคารพคือแกะพระพุทธรูป พระพิมพ์ และเทวรูปขนาดเล็ก ๆ ไว้แขวนห้อยบูชา
7. ขี้รัก
ขี้รักเป็นบางไม้ชนิดหนึ่งที่ได้มาจากต้นรักหรือต้นน้ำเกลี้ยง มีลักษณะเหนียว และทิ้งไว้จะแข็งตัว คงทนมาก เมื่อนำสมุกมาผสมกับยารักทำให้ยางรักมีเนื้อนุ่มคล้ายดินเหนียวสามารถนำมาปั้นแต่งเป็นรูปร่างที่ต้องการตามประสงค์ได้ หรือนำมากดพิมพ์ที่เตรียมไว้เพื่อให้เกิดเป็นลวดลายหรือรูปภาพขนาดเล็ก ๆ นำไปประดับศิลปวัตถุอื่น ๆ เช่น หัวโขน หุ่น มงกุฎ ชฎา ประดับภาชนะ หรือประดับเบญจา ฐาน ท่านต่าง ๆ เป็นต้น
8. หนังสัตว์
คือ การทำหนังสือมาเป็นวัสดุสำหรับแกะหรือฉลุ เป็นภาพทั้งหนังใหญ่และหนังตะลุง หนังใหญ่ที่ใช้หนังสัตว์มาฉลุเป็นลวดลายอย่างภาพเขียนลายไทย เป็นภาพตัวละคร ในเรื่องรามเกียรติ์ หรือภาพอื่นที่ต้องการ ปกติจะใช้หนังวัวหรือควายสลักทั้งตัว ถ้ามีขนาดใหญ่เป็นพิเศษ เช่น หนังใหญ่วัดขนอน จังหวัดราชบุรี บางทีอาจใช้หนังวัว 2 ตัวมาต่อกัน ถ้าต้องการขนาดของหนังให้ใหญ่ขึ้น หนังวัวเป็นที่นิยมใช้ที่สุดเพราะฟอกทำความสะอาดง่าย เมื่อฟอกแล้วอ่อนตัวม้วนเก็บได้สะดวก เมื่อแห้งสนิทไม่ย่น มีคุณภาพดีนำมาแกะฉลุเป็นลวดลายได้ง่าย แต่โบราณในเรื่องของการแกะสลักหนังใหญ่คืออาถรรพ์ความศักดิ์สิทธิ์อยู่ในการแกะหนังครู 3 ตัว คือ หนังฤาษี หนังพระอิศวร และหนังพระนารายณ์นั้นถือเป็นของสูงและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สุดมีความเกี่ยวพันกับความเชื่อทางไสยศาสตร์ จะไม่ใช้หนังวัวแบบธรรมดาทั่วไป หนังพระฤาษีนิยมใช้หนังเสือหนังหมี หนังพระอิศวรและหนังพระนารายณ์มักใช้หนักวัวตายพราย คือตายขณะที่มีลูกอยู่ในท้องหรือวัวที่ถูกฟ้าผ่าตาย ทั้งนี่ถือว่าเป็นอาถรรพ์ทำให้เจ้าหนังมีความศักดิ์สิทธิ์ขึ้นนั่นเอง
9. วัสดุอื่น ๆ
ส่วนใหญ่เป็นวัสดุไม่คงทน นำมาสร้างประติมากรรมเพื่อประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวัน ทั้งโดยเฉพาะเครื่องตกแต่งชั่วคราว เพื่อใช้ในพิธีกรรมต่าง ๆ ใช้ระยะเวลาอันสั้นเพื่อใช้ในพิธีกรรมหรือกิจกรรมนั้นให้สมบูรณ์วัสดุดังกล่าวจึงไม่คงทนถาวร เช่น หยวกกล้วย กระดาษ ผัก ผลไม้ เทียน และขี้ผึ้ง ซึ่งมักจะพบเห็นตามประเพณีต่าง ๆ ของไทยทั่ว ๆ ไป

กรรมวิธีพื้นฐานของประติมากรรมไทย

กรรมวิธีพื้นฐานของประติมากรรมไทย
กรรมวิธีพื้นฐานการสร้างงานประติมากรรมของไทยมีหลากหลายกันไป การเลือกใช้วัสดุให้เหมะสมกับการแสดงออกของตน การดำเนินการลำดับวิธีการสร้างประติมากรรมแต่ละชิ้นอยู่ภายใต้เหตุผลของคุณสมบัติหรือคุณลักษณะของวัสดุที่นำมาเป็นสื่อการสร้างสรรค์เป็นสำคัญมีวิธีการต่าง ๆ คือ การปั้น การหล่อ การกดพิมพ์ การแกะสลัก การตอกและดุน การฉลุและการบุ

1. การปั้น
การปั้นเป็นกรรมวิธีพื้นฐานหรือวิธีเบื้องต้นแห่งการสร้างงานประติมากรรมทั่วไป ทำกันมาแต่โบราณจนปัจจุบันก็ยังกระทำกันอยู่ เป็นการเพิ่มส่วนย่อยและปะติดต่อกันเข้าเป็นกลุ่มก้อนใหญ่เป็นรูปทรงที่มีคุณค่ามีความหมาย กรรมวิธีการปั้น ตั้งแต่การขึ้นรูป พอกวัสดุที่ใช้ในการปั้นตกแต่งโดยการพอกเพิ่มหรือขูดออกกระทำได้โดยง่าย สามารถแก้ไขแต่งเติมให้เป็นไปตามที่ประติมากรรมปรารถนา วัสดุที่นำมาใช้ปั้นมักเป็นวัสดุที่อ่อนนุ่ม ไม้แข็งกระด้างสามารถขยำขยี้ ขูด ขีด แต่ง แต้ม ได้สะดวกฉับพลัน วัสดุดังกล่าวนี้ได้แก่ ดิน ปูน ขี้ผึ้ง เป็นต้น

1.1 การปั้นด้วยดิน ประติมากรไทยโบราณนิยมปั้นรูปด้วยดินเป็นรูปทรงต่าง ๆ ทั้งที่เป็นรูปทรงที่มีคุณค่า ความงามด้วยตัวของประติมากรรมเองและรูปทรงและลวดลายเพื่อจะใช้นำไปประกอบกับสถาปัตยกรรม แต่การปั้นมิได้เป็นกรรมวิธีทั้งหมดของงานประติมากรรมเพราะดินไม่มีความคงทนแม้เมื่อแข็งตัวแห้งสนิทแล้ว มักจะแตกตัวหรือเมื่อโดนน้ำมักจะละลายเสียรูปทรงตั้งเดิมหมด ฉะนั้นเมื่อปั้นดินเสร็จแล้วก็จะนำไปทำตามกระบวนการหล่อด้วยโลหะต่าง ๆ หรือนำไปเผาเพื่อให้เกิดวามคงทนถาวร เช่น พระพุทธรูปสำริดสมัยต่าง ๆ หรือภาพหรือลวดลายดินเผาประดับอาคารสมัยทวาราวดี พระพิมพ์ดินเผาสมัยศรีวิชัย เป็นต้น
ประติมากรสุโขทัยที่ทำเครื่องเคลือบดินเผาประดับพุทธสถานนิยมปั้นรูปต่าง ๆ ด้วยดินโดยการขูดเพื่อเป็นโครงสร้างใหญ่ของรูปเพื่อให้ภายในรูปกลวง เมื่อขึ้นโครงของรูปโดยประมาณแล้วผึ่งดินให้หมาดจับแข็งตัวเล็กน้อยก็แต่งปั้นพอกเสริมให้เกิดเป็นภาพประกอบลายตามต้องการจนสำเร็จ เพื่อต้องการให้อยู่คงทนก็นำเข้าเตาเผาแล้วเคลือบ ประติมากรรมดังกล่าวได้แก่ ประติมากรรมประดับพุทธสถานสุโขทัยประเภทช่อฟ้าบราลี มกร ยักษ์ เป็นต้น

1.2 การปั้นด้วยขี้ผึ้ง มีอยู่ 2 แบบ แบบหนึ่งหล่อมาจากแบบหุ้นที่ปั้นด้วยดิน และนำมาแต่งเพิ่มเติมในส่วนละเอียดประณีต เพื่อให้เกิดความมีคุณค่าขึ้นก่อนนำไปหล่อเป็นโลหะต่าง ๆ ภายหลัง หรืออีกแบบหนึ่งช่างไทยอาจจะก่อแกนของรูปด้วยดินเหนียวและทรายผสมน้ำขยำเข้าด้วยกันปั้นทำเป็นรูปร่างแบบหยาบ ๆ พอได้เค้าโครงภาพตามที่ประติมากรต้องการ จะทิ้งไว้ระยะเวลาหนึ่งเพื่อผึ่งให้แห้งจึงพอกปั้นขี้ผึ้งต่อ โดยการนำขี้ผึ้งมาแผ่เป็นแผ่น หนา บาง เล็กใหญ่ตามที่ช่างต้องการ โดยนำมาปิดกับหุ้นแกนแล้วจึงตกแต่งให้ได้สัดส่วนเพื่อเพิ่มเติมเนื้อหา แต่งทำรายละเอียดให้สมบูรณ์ก่อนนำไปหล่อเป็นโลหะเช่นกัน

1.3 ปั้นด้วยปูน มีอยู่ 2 แบบ
แบบที่ 1 ประติมากรรมปั้นปูนเป็นรูปทรงลอยตัว เช่น การปั้นรูปพระพุทธรูปขนาดใหญ่ คือ พระอัจนะและพระอัฎฐารส การปั้นพระขนาดใหญ่แบบนี้มักก่ออิฐขึ้นเป็นแกนอยู่ภายในหรือใช้ศิลาแลงและถากโกลนที่เป็นโครงสร้างของภาพเป็นรูปหยาบ ๆ โดยคาถึงถึงสัดส่วนโครงสร้างและเส้นรูปนอกใหญ่ ๆ ของรูปทรงให้มีการลงตัวเหมาะสม เมื่อได้โครงสร้างของรูปทรงหยาบ ๆ แล้วจึงปั้นปูนพอกเพิ่มเติม เสริมแต่งรายละเอียดที่ประติมากรต้องการ
แบบที่ 2 การปั้นปูเป็นภาพหรือลวดลายประดับผนังหรือฐานของอาคารเป็นการปั้นปูนนูนสูงหรือต่ำ ช่างปั้นจะร่างแบบหรือร่างโครงของภาพหรือลวดลายด้วยสีหรือขูดขีดลงไปบนพื้นภาพก่อนจะปั้นปูนลงไปบนพื้นภาพจะต้องทำให้พื้นนั้นขรุขระเป็นร่องรอยเพื่อให้ปูนที่นำมาพอกลงไปเป็นภาพหรือลวดลายเกาะจับติดแน่นกับพื้นภาพ ส่วนไหนที่เป็นภาพที่จะต้องนูนสูงจากพื้นมากมักจะตอกตะปูดอกเห็ดให้สูงจากพื้นขึ้นมาเล็กน้อยเพื่อเป็นแกนยึดจับภาพหรือลายที่สูงมาจากพื้นมากให้คงทนและอยู่ได้นาน การปั้นปูนนั้นในขั้นแรกต้องปั้นเป็นโครงภาพและลวดลายเพียงหยาบ ๆ ก่อน แล้วจึงพวกเติมเสริมรายละเอียดจนเสร็จ



2. การหล่อ
การหล่อเป็นกรรมวิธีการเปลี่ยนแปลงสภาพของวัสดุทางการปั้นต่าง ๆ เช่น ดิน ขี้ผึ้ง ที่เป็นวัสดุที่ไม่แข็งกระด้างและปูนซึ่งเป็นวัสดุที่ไม่สู้จะคงทน ให้เป็นประติมากรรมมีความแข็งแรงแกร่งคงทนถาวรและมีคุณค่าในเนื้อของวัสดุเอง โดยคงรูปแบบเหมือนกับรูปต้นแบบที่ปั้นด้วยวัสดุไม่คงทน และสามารถสร้างประติมากรรมจำนวนเพิ่มขึ้นจากรูปต้นแบบด้วยวิธีการหล่อโดยมิจำกัดจำนวน
วิธีการหล่อโลหะของไทยเป็นวิธีการหล่อโลหะประเภท “ขับขี้ผึ้ง” กล่าวคือ นำหุ่นขี้ผึ้งที่แต่งหล่อมาจากต้นแบบที่เป็นดินหรือที่แต่งมาจากโกลนแบบของขี้ผึ้งเอง และแต่งส่วนละเอียดแล้วนำเอาดินเหนียมผสมทราบพอกบนหุ้นขี้ผึ้ง ต่อติดสายชนวนเป็นช่องทางไว้ให้ขี้ผึ้งไหลถ่ายเทออกหรือโลหะเหลวหลอมละลายไหล่ถ่ายเทเข้า นำรูปหุ้นขี้ผึ้งที่พวกดินทรายนั้นไปสุมไฟให้ร้อนเพื่อให้ขี้ผึ้งที่เป็นต้นแบบภายในละลายไหลออกมาตามท่อสายชนวน ช่องหล่อก็จะเปิดทางท้ายชยสนให้ขี้ผึ้งเหลวไหลออกจากเปลือกดินทรายหรือแม่พิมพ์นั้นจนแน่ใจว่าหมดจึงปิดรูชนวน นำโลหะที่ถูกหลอมละลายด้วยไฟจนกลายเป็นของเหลวเทกรอกลงไปในแม่พิมพ์ลงไปแทนที่เนื้อขี้ผึ้งเดิมจนเต็มแม่พิมพ์ เมื่อโลหะนั้นเย็นตัวลงจนจับตัวแข็งจึงทุบเปลือกของแม่พิมพ์ดินผสมทรายนั้นทิ้งจะได้ภาพหล่อโลหะเหมือนรูปต้นแบบที่ปั้นด้วยดินหรือขี้ผึ้ง และนำประติมากรรมโลหะมาขัดแต่งเพิ่มเติมต่อเพื่อลบรอยตะเข็บต่าง ๆ และให้ผิวเกลี้ยงเรียบอย่างสมบูรณ์ การหล่อโลหะจึงเป็นขบวนการถ่ายแบบขั้นตอนสุดท้ายทางประติมากรรมมิใช่สร้างงานประติมากรรมวิธีจากโลหะเองมาตั้งแต่ต้นจนจบสิ้น ช่างหล่อที่มิได้เป็นประติมากรจึงมิใช่ช่างศิลปะผู้สร้างสรรค์เท่านั้น

3. การกดพิมพ์
การกดพิมพ์เป็นการสร้างงานได้เป็นจำนวนมากจากแม่พิมพ์ ต่างจากกรหล่อตรงที่ไม่ต้องใช้ความร้อนเข้าช่วยแต่ประการใด การกดพิมพ์จะต้องสร้างแม่พิมพ์จากวัสดุแข็งตัว เช่น ดินเผาไฟ งาช้าง หิน โลหะ หรือไม้ มีลักษณะเป็นแผ่นหน้าราบแกะภาพหรือลายลึกลงไปในพื้น วัสดุที่ใช้ในการกดพิมพ์เป็นวัสดุเนื้ออ่อนขณะเวลากดและแข็งตัวเมื่อทิ้งไว้ระยะเวลาหนึ่ง เช่น ดิน ปูน ขี้รัก การดกนำวัสดุมาปั้นเป็นก้อนได้ขนาดกับร่องของแม่พิมพ์ กดอัดวัสดุนั้นให้จมจนเนื้อวัสดุแนบแน่นกับร่องลึกทุกส่วนของแม่พิมพ์ รอจนแห้งพอหมาด ๆ จึงสำรอกออก เกิดภาพหรือลวดลายตามที่ต้องการ งานประติมากรรมประเภทที่ใช้กรรมวิธีนี้ได้แก่ พระพิมพ์ ลวดลาย ประดับหัวโขน ชฎา มงกุฎต่าง ๆ และลวดลายประดับบุษบก ธรรมาสน์ และอาคารสถานทางศาสนา


4. การแกะสลัก

4.1 การแกะ เป็นกรรมวิธีการสร้างงานประติมากรรมขนาดเล็ก ๆ เช่น แกะพระพุทธขนาดเล็ก แกะตราประทับเอกสาร และลวดลายประดับสิ่งของเครื่องใช้ เป็นงานประณีตศิลป์ปละปกสมุดไทยหรือคัมภีร์โบราณ การกะวิธีดำเนินการโดยการขีด ขูด คว้าน เหลา และเขียนเอาส่วนย่อย ๆ ที่ไม่ต้องการออก ผลงานมีความประณีตสูงเนื่องจากเป็นงานเล็กและอยู่ใกล้ตาผู้ใช้
4.2 การสลัก เป็นกรรมวิธีการสร้างงานประติมากรรมขนาดเล็กและขนาดใหญ่ มีความละเอียดประณีตพอสมควร เช่น การสลักบานประตูหน้าต่าง หน้าบัน คันทวน โบสถ์ วิหารต่าง ๆ การสลักมีวิธีการดำเนินการโดยการถาก ตัด สกัด เจาะ ตอก และควักคว้านและเมื่อแกะแต่งส่วนละเอียดนำเอาวิธีการในขั้นต่าง ๆ มาใช้ก็ได้

5. การตอกและดุน
การตอกและดุนโลหะนำทำภาชนะโลหะต่าง ๆ ที่มีผิวเรียบ ในเกิดภาพและลวดลายนูนขึ้นตามต้องการชื่อนั้นมาจากกรรมวิธีการทำ เนื่องจากก่อนจะตอกและดุนภาชนะใด ๆ จะต้องเอาชั้นเคี่ยวให้เหลวเทหยอดลงในพื้นโลหะด้านหลังหรือภายในภาชนะโลหะตามภาพหรือการจะสร้างงาน รอให้แข็งตัว จึงจัดการตอกพื้นโลหะหรือด้นหน้าภาชนะโลหะตามภาพหรือลวดลายที่ร่างหยาบ ๆ ไว้ เมื่อได้ความนูนแล้วจึงสลักหรือทำเป็นแบบเส้นรูปนอกและส่วนละเอียดให้เกิดวามงดงามตามต้องการ

6. การฉลุ
การฉลุเป็นกรรมวิธีการทำรูปทรงและลวดลายให้ปรากฏบนพื้นราบ วัสดุที่ทำคือ หนัง กระดาษ แผ่น โลหะหรือวัสดุอื่น ๆ งานประติมากรรมประเภทนี้ ได้แก่ หนังใหญ่ หนังตะลุง ฉาก ม่านสำหรับพระเมรุ เบญจา หรือหีบศพ เป็นต้น

7. การบุ
การบุเป็นกรรมวิธีการสร้างประติมากรรมประเภทหัวโขน กระทำขึ้นโดยมีฝุ่นหรือแบบรองรับหลาย ๆ วัสดุ เช่น กระดาษฟางปิดหุ่นหรือแบบทีละชั้นรัดรูปเข้ากับหุ่นประมาณ 15 ชั้น เป็นกรรมวิธีการนำวัสดุส่วนย่อยเพิ่มเติมเข้าเป็นส่วนใหญ่เมื่อได้ความหนาตามต้องการแล้วนำไปตากแดดกระพอหมาด ๆ แล้วรีดให้เข้ารูปไม่โป่งพองและผ่าด้านหลังออกเป็น 3 ตอน แล้วจึงเกะออกจากหุ่นเย็บติดด้วยลวดเล็ก ๆ และนำกระดาษสามาปิดทับรอยลวดข้างนอกข้างในให้เรียบสนิท แล้วจึงตกแต่งเขียนลวดลายปั้นลายรักเป็นสันหน้า สั้นคิว สั้นปาก ติดประดับตกแต่งดวงตาและจอนหู สร้างลักษณะเฉพาะของหุ่นแต่ละตัว
จากกรรมวิธีที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่า การสร้างงานประติมากรรมแต่ละประเภทต้องมีความพิถีพิถันประดิดประดอยในกรรมวิธีแห่งตนเป็นพิเศษเฉพาะ เป็นการผสมผสานชีวิต วัสดุ กับความสามารถของช่างความรู้ความเข้าใจในการเลือกใช้วัสดุอย่างถูกต้องลึกซึ้ง ความสามารถเชิงฝีมืออย่างเยี่ยมยอดและความพิถีพิถันตามกรรมวิธีแต่ละชนิดในงานเชิงศิลปะ ส่งผลให้เกิดความเป็นลักษณะไทยขึ้นในงานประติมากรรมแต่ละชิ้น

ประเภทของประติมากรรม

ประเภทของประติมากรรม
การสร้างงานประติมากรรมไทยตั้งแต่อดีตมาจนปัจจุบัน สามารถจำแนกออกเป็นประเภทต่าง ๆ ตามลักษณะของผลงานที่ปรากฏอยู่ โดยไม่จำกัดว่าประติมากรรมเหล่านั้นจะทำด้วยปูน หิน ไม้ หรือวัสดุทุกชนิดได้ และมีกรรมวิธีในการสร้างสรรค์อย่างไรก็ได้ แต่คำนึงถึงรูปลักษณะของประติมากรรมเท่านั้น การจำแนกประเภทของประติมากรรมลักษณะนี้ สามรถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ


1. ประติมากรรมลอยตัว ( Round - Relief ) ได้แก่ ประติมากรรมที่ปั้น หล่อ หรือแกะสลักขึ้นเป็นรูปร่างลอยตัวมองได้รอบด้าน ไม่มีพื้นหลัง เช่น รูปประติมากรรมที่เป็นอนุสาวรีย์ประติมากรรมรูปเหมือน และพระพุทธรูปลอยตัวสมัยต่าง ๆ ตลอดไปจนถึงประติมากรรมสำหรับประดับตกแต่ง เป็นต้น
ประติมากรรมประเภทลอยตัวของไทยที่รู้จักกันดี คือ พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ โดยเฉพาะพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ซึ่งถือว่าเป็นพระพุทธรูปคลาสิคของไทยนั้นนับเป็นประติมากรรมลอยตัวที่สมบูรณ์แบบที่สุดของไทย
ประติมากรรมประเภทนี้สร้างมากในสมัยปัจจุบัน คือ อนุสาวรีย์และรูปเคารพหรือพระบรมรูปของเจ้านายชั้นสูง เช่น อนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เชิงสะพานพุทธยอดฟ้า กรุงเทพ ฯ อนุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราช ที่วงเวียนใหญ่ กรุงเทพ ฯ อนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่สวนลุมพินี กรุงเทพ ฯ อนุสาวรีย์ในจังหวัดต่าง ๆ มากมายเป็นต้น

2. ประติมากรรมประเภทนูนสูง ( High – Relief ) ได้แก่ ประติมากรรมที่ไม่ลอยตัว มีพื้นหลัง ตัวประติมากรรมจะยื่นออกมาจากพื้นหลังค่อนข้างสูง แต่มีพื้นเป็นฉากหลังประกอบอยู่ ประติมากรรมประเภทนี้มักใช้ตกแต่งอาคารสถาปัตยกรรมพุทธศาสนาฐานอนุสาวรีย์อาคารทั่วไป เป็นประติมากรรมที่นิยมสร้างขึ้นเพื่อประดับตกแต่งอาคารสถาปัตยกรรมพุทธศาสนาแต่อดีต เช่น ประติมากรรมตกแต่งกระวิหารวัดไลย์ อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นประติมากรรมปูนปั้นแบบนูนสูง กล่าวกันว่าเป็นศิลปะสมัยอู่ทอง สร้างขึ้นราวพุทธศวตวรรษที่ 17 โดยด้านหน้าวิหารปั้นเป็นเรื่องปฐมสมโพธิ์และทศชาติด้านหลังเป็นเรื่องการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ ประติมากรรมปูนปั้น พระพุทธรูปปางลีลาที่วัดเจดีย์เจ็ดแถว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ประติมากรรมปูนปั้นที่วิหารทรงม้า วัดมหาธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราชและประติมากรามปูนปั้นประดับเจดีย์เจ็ดยอด วัดเจดีย์เจ็ดยอดอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น
ประติมากรรมประเภทนูนสูงที่ใช้สำหรับตกแต่งนี้ควรจะรวมถึง ประติมากรรมที่เป็นลวดลายประดับตกแต่งด้วย เช่น ประติมากรรมปูนปั้นประดับกระจกหน้าบ้าน พระอุโบสถและวิหารต่าง ๆ ตลอดจนถึงการประดับตกแต่งสถาปัตยกรรมในปัจจุบัน เช่น ประติมากรรมที่ปั้นเป็นเรื่องราวหรือเป็นลวดลายประดับตกแต่งอาคาร ตกแต่งฐานอนุสาวรีย์ ตกแต่งสะพาน และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เป็นต้น

3. ประติมากรรมประเภทนูนต่ำ ( Bas – Relief ) ได้แก่ งานประติมากรรมที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับประติมากรรมประเภทนูนสูง แต่จะแบนหรือบางกว่าประติมากรรมประเภทนี้ ไม่ปรากฏมากนักในอดีต ซึ่งมักจะได้แก่ ประติมากรรมที่เป็นลวดลายประดับตกแต่ง เช่น แกะสลักด้วยไม้ หิน ปูนปั้น เป็นต้น ในปัจจุบันมีทำกันมากเพราะใช้เป็นงานประดับตกแต่งได้ดี ซึ่งอาจจะปั้นเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ตามวัตถุประสงค์ของสถาปัตยกรรมที่นำประติมากรรมนั้นไปประกอบนอกจากนี้ ประติมากรรมประเภทนี้ยังใช้ได้ดีในการปั้นเหรียญชนิดต่าง ๆ รวมถึงการปั้นเครื่องหมาย ตรา เครื่องหมายต่าง ๆ กันอย่างแพร่หลาย